หากเราต้องรับมือกับสถานการณ์การระบาดเชื้อโควิด19 ยาวสัก 1 ปี แล้วแบบนี้ เราจะเตรียมพร้อมรับมืออย่างไร
สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า หรือ โควิด19 อยู่ในขณะนี้ สถานการณ์ทั่วโลกยังน่าเป็นห่วง ทั้งการแพร่ระบาด จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ และยอดผู้เสียชีวิตยังพุ่งสูงมาก ส่วนบางประเทศที่ควบคุมสถานการณ์ได้ จำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้รักษาหาย และผู้เสียชีวิต ก็พบว่ามีลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่หลายฝ่ายก็ยังกังวลหากจะมีการลดความเข้มข้นลง อาจจะเปิดโอกาสให้เชื้อโควิด กลับมาระบาดหนักได้อีกครั้งหรือไม่
เพราะ การเฝ้าระวัง หรือการรักษาตามอาการก็ยังไม่น่าไว้วางใจ หากยังไม่มีวัคซีน หรือยารักษา ที่สามารถเอาชนะไวรัสโควิดนี้ได้ ซึ่งหากต้องลากยาวสถานการณ์ ไปอีก 3 – 6 เดือน หรืออาจจะ 1 ปี สิ่งจะเกิดขึ้น ที่ต้องเตรียมการรับมือ ก็ขอแนะนำให้ควรต้องเตรียมตัวให้พร้อม คือ
1. ถ้าไม่มีเงิน หรือมีเงินจำกัด แบบรายงานทางเดียวคือเงินเดือน ให้ประหยัดมากที่สุด งดรายจ่ายที่ไม่เกิดประโยชน์ งดกิจกรรมที่ไม่สร้างรายได้ หาอาชีพเสริมที่ทำแล้วเกิดรายได้เพิ่มขึ้น หรือ ทดแทนในส่วนที่ขาดหายไป
2. ส่วนคนที่มีเงินก็เก็บเงินไว้ให้มากที่สุด เงินทองช่วงนี้หายาก อย่าโลภ อย่าด่วนลงทุนอะไรโดยง่าย หากจะลงทุนให้ดูผลตอบแทนระยะสั้นที่ทำกำไรได้ทันที การคาดหวังกำไรในยะยะยาวเป็นไปได้ยากมาก เพราะ สถานการณ์ขณะนี้ออกไปทางไหนก็ได้
3. ขายของที่ไม่จำเป็นออก ของบางอย่างที่ไม่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในตอนนี้ เช่น อุปกรณ์ไอที เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า อะไรที่พอมีกำไรแนะนำให้ขายในตอนนี้ ตอนที่ยังมีคนพอมีกำลังซื้อ แล้วอย่าพยายามซื้อเข้ามาเพิ่ม พยายามเก็บเงินสำรองไว้ใช้ยามฉุกเฉินให้ได้มากที่สุด
4. บางธุรกิจดำเนินไปได้ แต่อีกหลายธุรกิจกำลังได้รับความเดือดร้อน ช่วงนี้ยอดขายรถยนต์ตก ทำให้บริษัทผลิตรถยนต์ ชะลอการผลิต ลดโอทีพนักงาน ปลดพนักงานบางส่วนออก บางแห่งอาจถึงขั้นต้องปิดโรงงานหากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น
5. หากอุตสาหกรรมยานยนต์เจอปัญหา จะส่งผลต่อโรงงานผลิตเหล็ก โรงงานผลิตกระจก โรงงานยาง โรงงานผลิตพลาสติก และ บริษัทเล็กๆน้อยๆอีกมากมาย ที่ผลิตชิ้นส่วนต่างๆป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมนี้ จะเห็นว่าหากอุตสาหกรรมใดมีปัญหาก็จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอื่นๆด้วย
6. เมื่อสถานการณ์กลับมาเป็นปกติแล้ว ก็ยังใช่ว่าจะดีขึ้นเลยทันที เพราะ หลายๆอาชีพอาจโดน disrupt โดยไม่รู้ตัว ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปจากความเคยชินในการกักตัวอยู่บ้าน ยกตัวอย่างเช่น ในอนาคตผู้คนอาจไม่นิยมทานข้าวนอกบ้านแล้วก็ได้ เจ้าของกิจการจึงต้องรู้จักปรับตัวให้ทันตามสถานการณ์ที่จะเปลี่ยนไป
7. work from home อาจทำให้รูปแบบบริษัทเปลี่ยนไป บางบริษัทจากที่ WFH แค่ช่วงกักตัว อาจกลายเป็นตลอดไป เพราะ ไม่ต้องเช่าออฟฟิศ ไม่ต้องมีห้องทำงานให้พนักงาน ไม่ต้องมีพนักงานต้อนรับ ไม่ต้องจ้างแม่บ้าน ไม่ต้องมี รปภ.ดูแลบริษัท ทำให้บริษัทเห็นว่าช่วยลดค่าใช้จ่ายตรงส่วนนี้ไปได้เยอะ พนักงานบางตำแหน่งอาจถูกปลดออก
8. เจ้าของกิจการ ต้องเน้นที่ต้นทุน อะไรลดได้ก็ต้องลด ต้นทุนต่ำไว้ก่อนดีที่สุด เพราะ มันคือความอยู่รอดของกิจการ และ กระแสเงินสดที่คุณใช้ในการดำเนินธุรกิจต้องคุมให้ดี อย่าขี้เกียจเรียนรู้เรื่องการเงิน และ การทำบัญชี อย่าฝากความหวังไว้กับใครมาก เพราะ ตอนพังมาไม่มีใครช่วยเราได้
9. เราได้เห็นแล้วว่า การมีเงินออมอย่างน้อย 3-6 เดือน คือเรื่องสำคัญ หลายคนเดือดร้อนหนัก เพราะ ที่ผ่านมาไม่เคยคิดที่จะเก็บเงินเลย ก็พอเข้าใจอยู่บ้างสำหรับหลายๆคนรายได้น้อยจริงๆ แต่บางคนที่พอมีเก็บกลับใช้ฟุ่มเฟือยแบบเดือนชนเดือน พึ่งจะมาคิดได้ในช่วงนี้แหละ เพราะฉะนั้น หากสถานการณ์กลับมาสู่สภาวะปกติ มีโอกาสออมเงินก็ควรออมไว้ เพราะ ไม่รู้ว่าเรื่องแบบนี้จะเกิดขึ้นได้อีกเมื่อไร
10. สถานการณ์จะเป็นในลักษณะที่คาดเดาไม่ได้ไปอีกเรื่อยๆ เพราะ ถึงแม้ในประเทศไทยเราจะใกล้กลับเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว แต่ในอีกหลายๆประเทศยังวิกฤตอยู่ ดังนั้นจึงอย่าชะล่าใจ เพราะ เราไม่รู้ว่าจะเจอกับการระบาดจากต่างประเทศมาเข้ามาเมื่อไรอีก ถ้าเหตุการณ์ที่ผ่านมาได้สอนบทเรียนอะไรคุณไว้บ้าง ก็ควรเตรียมตัวรับมือไว้จะดีกว่า
และนี่ก็คือ คำแนะนำ 10 ข้อ ที่อยากให้พวกเรา ได้ปรับใช้ และลงมือทำ การเก็บเงิน ออมเงินให้มากที่สุด ลดรายจ่าย แม้จะไม่มีรายได้เพิ่ม แต่ถ้าจ่ายน้อยกว่ารับ เก็บเงินสดให้มากที่สุด เราก็ยังพอที่จะอยู่รอดได้ในสถานการณ์วิกฤตเช่นนี้