ช้าอยู่ไยรีบเช็กเลย! เปิดขั้นตอนง่ายๆ ตรวจสอบผลการโอนเงิน www.เยียวยาเกษตรกร.com ได้ 5,000 บาท เงินเข้าวันไหน
thaitrend ออนไลน์ ติดตามความคืบหน้า ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ดำเนินมาตรการเยียวยาเกษตรกร เดือนละ 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2563 กลุ่มเป้าหมายเป็นเกษตรกร ไม่เกิน 10 ล้านราย ซึ่งไม่ซ้ำซ้อนกับการได้รับความช่วยเหลือภายใต้โครงการ “เราไม่ทิ้งกัน” และหลักเกณฑ์อื่นๆ ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด รวมวงเงินของโครงการฯ ไม่เกิน 150,000 ล้านบาท เปิดให้เกษตรกรที่ผ่านการตรวจสอบสิทธิผ่าน www.เยียวยาเกษตรกร.com ได้รับเงินเยียวยาเกษตรกร ตรวจสอบสถานะโอนเงิน วันที่ 15 พฤษภาคม 2563 ตั้งแต่ 08.30 น.
ทั้งนี้ เกษตรกรกลุ่มแรก ที่ผ่านการตรวจสอบสิทธิ์รับเงินเยียวยาล่าสุดมีจำนวน 6.77 ล้านคน และจะมีการโอนวันนี้วันแรก 1 ล้านราย และจะทยอยโอนให้ต่อเนื่องทุกวัน
สำหรับ วิธีตรวจสอบผลการ “โอนเงินเยียวยาเกษตรกร” มีดังนี้
- เข้าเว็บไซต์ www.เยียวยาเกษตรกร.com
- กดคลิกคำว่า “ตรวจสอบผลการโอนเงิน“
- กรอกหมายเลขบัตรประชาชน (เฉพาะเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนแล้ว)
- กรอกหมายเลข 4 ตัว รหัสความปลอดภัย (โดยจะขึ้นตัวเลข 4 ตัว ด้านบนช่องกรอก)
- คลิกว่า “ตรวจสอบ”
- เมื่อท่านได้รับสิทธิ์ เว็บไซต์จะขึ้นหน้าสถานะการโอน พร้อมรายละเอียดสถานะ
อย่างไรก็ตาม ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ยังได้ประกาศเตือนข้อความหลอกลวงจากมิจฉาชีพ โดยยืนยันว่า ไม่มีนโยบายส่ง SMS เพื่อให้ผู้ลงทะเบียนกระทำการดังต่อไปนี้
- SMS แจ้งว่า ธ.ก.ส.โอนเงินผิด และระบุให้โอนเงินคืนไปยังเลขที่บัญชีที่กำหนด
- SMS ขอหมายเลขบัตรประชาชน
- SMS ขอเลขที่บัญชีเงินฝาก หรือรหัสบัตร ATM
- SMS ขอรหัส OTP
- หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ Call Center โทร. 0 2555 0555 หรือ เว็บไซต์ ธ.ก.ส.
สำหรับเกษตรกรที่ไม่ผ่านเกณฑ์ได้รับเงินเยียวยา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เตรียมจัดตั้ง “ศูนย์รับเรื่องอุทธรณ์“ เพื่อเป็นช่องทางให้คำปรึกษาและให้การช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรต่อไป
ทั้งนี้ ทะเบียนเกษตรกรที่กระทรวงเกษตรฯส่งให้ กระทรวงการคลัง ตรวจสอบความซ้ำซ้อน กับโครงการเราไม่ทิ้งกัน ลูกจ้างเอกชน ที่อยู่ในระบบประกันสังคม ข้าราชการบำนาญ ขณะนี้มีความซ้ำซ้อนประมาณ 7-8 แสนราย จากทั้งหมด 8.33 ล้านราย ดังนั้นคนผ่านเกณฑ์ที่จะได้รับเงินเยียวยาเกษตรกร 5,000 บาท 3 เดือนขณะนี้มีเพียง 7 ล้านกว่ารายเท่านั้น
ที่มา ..กรุงเทพธุรกิจ