ผู้ว่าฯอัศวิน ปลดล็อก เปิดกิจการ ห้าง ตลาดน้ำ นวดแผนโบราณ ศูนย์ประชุม โรงแรม สระว่ายน้ำ ยิม โรงหนัง

กทม. ปลดล็อก ผ่อนคลาย เปิดกิจการ ห้าง ตลาดน้ำ นวดแผนโบราณ ศูนย์ประชุม โรงแรม สระว่ายน้ำ ยิม โรงหนัง

วันที่ 31 พ.ค. 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  ได้เผยแพร่ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการช่วยคราว (ฉบับที่ 10)   โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ ๒) ลงวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๓ และผ่อนคลายให้ดำเนินการหรือทำกิจกรรมบางอย่างได้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและขับเคลื่อนกิจกรรมบางอย่างเพิ่มเติมจากที่ได้กำหนดไว้แล้ว ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๖) ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๓ ข้อกำหนด (ฉบับที่ ๓) ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๓ และข้อกำหนด(ฉบับที่๙) ลงวันที่ ๒๙ พฤษภคม ๒๕๖๓ ภายใต้การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด รวมทั้งการจัดระเบียบและระบบต่าง ๆ นั้น

เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาตรชองโรคโควิด-19 และดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนด ดังกล่าวยังตัน อาศัยอำนางตามความในมาตรา ๓๙ (๑) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกอบกับ ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘

(ฉบับที่ ๕) ลงวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓ ข้อกำหนด(ฉบับที่ ๖) ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๓ ข้อกำหนด

(ฉบับที่๗ )ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๓ และข้อกำหนด(ฉบับที่ ๙) ลงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๓ ผู้ว่าราชการ

กรุงเทพมหานคร โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ตามมติที่ประชุมครั้งที่ ๑๓/๒๕๖๓

เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๖๓ จึงให้ปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว และผ่อนคลายให้ดำเนินการหรือทำกิจกรรมบางอย่างได้

๑. ปิดสถานที่

๑.๑ สถานบริการ ผับ บาร์ สถานบันเทิง และสถานประกอบการที่คล้ายสถานบริการ

๑.๒ สวนน้ำ สวนสนุก

๑.๓ สนามเด็กเล่น เครื่องเล่นสำหรับเด็กในตลาด ตลาดน้ำ และตลาดนัด

๑.๔ โต๊ะสนุกเกอร์ บิลเลียด

๑.๕ สถานที่เล่นตู้เกม

๑.๖ ร้านเกม และร้านอินเทอร์เน็ต

๑.๗ สนามชนไก่ และสนามซ้อมชนไก่

๑.๘ สถานรับเลี้ยงเด็ก หรือสถานดูแลผู้สูงอาย (ยกวันที่มีการรับตัวไว้พักค้างคืนเป็นปกติธุระ)

๑.๙ สนามมวย

๑๑๐ โรงเรียนสอนศิลปะการต่อสู้ (ยิม)

๑.๑๑ สนามม้า

๑.๑๒ สถานประกอบกิจการอาบน้ำ

๑.๑๓ สถานประกอบกิจการอาบอบนวด

๑.๑๔ สนามแข่งขันทุกประเภท

๑.๑๕ สถานที่ให้บริการห้องจัดเลี้ยง สถานที่จัดเลี้ยง รวมถึงสถานที่อื่นใดที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน

๑.๑๖ สนามชนโค สนามกัดปลา หรือสนามแข่งขันอื่นในลักษณะทำนองเดียวกัน

๒. สถานที่ที่ได้รับการผ่อนคลายแต่ต้องปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคของทางราชการ

๒.๑ ร้านอาหารหรือเครื่องดื่ม ร้นสะดวกซื้อ รถเข็น หาบเร่ แผงลอย ภัตตาคาร สวนอาหาร ศูนย์อาหาร โรงอาหาร ซึ่งไม่รวมถึงสถานบริการ ผับ บาร์ แต่ยังคงห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในสถานที่ดังกล่าว

๒.๒ ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า และคอมมูนิตี้มอลล์ ให้เปิดดำเนินการได้จนถึง ๒๑.๐๐ นาฬิกา

๒.๓ ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม หรือสถานที่จัดนิทรรศการ

๒.๔ ห้องประชุมในโรงแรมหรือศูนย์ประชุม

๒.๕ ร้านค้าปลีกค้าส่งขนาดย่อม ร้านค้าปลีกค้าส่งชุมชน ตลาด ตลาดน้ำ และตลาดนัด

๒๖ ร้านค้าปลีกค้าส่ง หรือตลาดค้าส่งขนาดใหญ่

๒.๗ ร้านเสริมสวย แต่งผมหรือตัดผมสำหรับบุรุษหรือสตรี ให้เปิดดำเนินการโดยจำกัดเวลาการให้บริการในร้านไม่เกินรายละ 2 ชั่วโมงและต้องไม่มีผู้นั่งรอในร้าน

๒.๘ สนามพระเครื่อง ศูนย์พระเครื่อง

๒.๙ สถานรับเลี้ยงเด็กหรือสถานดูแลผู้สูงอายุ (เฉพาะที่มีการรับตัวไว้พักค้างคืนเป็นปกติธุระ)

๒.๑๐ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เด็กก่อนวัยเรียน

๒.๑๑ คลินิกเวชกรรมเสริมความงาม สถานเสริมความงาม สถานที่สักหรือเจาะผิวหนังหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ร้านทำเล็บ

๒.๑๒ สนามกอล์ฟ และสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ

๒.๑๓ สนามกีฬา

๒.๑๔ สวนสาธารณะ ลาน – พื้นที่กิจกรรมสาธารณะ สถานที่ออกกำลังกาย สนามกีฬา ลานกีฬา

๒.๑๕ สถานที่ให้บริการดูแลรักษาสัตว์ สปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์

๒.๑๖ สถานที่ออกกำลังกายฟีตเนส

๒.๑๗ สถานที่หรือสนามออกกำลังกายในร่ม

๒.๑๘ สระว่ายน้ำสาธารณะทั้งกลางแจ้งและในร่ม

๒.๑๙ สวนพฤกษศาสตร์ สวนตอกไม้ พิพิธภัณฑ์ ศูนย์การเรียนรู้ แหล่งประวัติศาสตร์โบราณสถาน ห้องสมุดสาธารณะ และหอศิลป์

๒.๒๐ สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ สปา และสถานประกอบการนวตแผนไทย นวดฝาเท้า

๒.๒๑ สนามฝึกซ้อมมวย โรงยิม หรือค่ายมวย

๒.๒๒ สถานที่เล่นโบว์ลิ่ง สก็ต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการละเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

๒.๒๓ สถาบันลีลาศ หรือสอนลีลาศ

๒.๒๔ สระน้ำเพื่อการเล่นกีฬาหรือกิจกรรมทางน้ำในบึง

๒.๒๕ โรงภาพยนตร์ โรงละคร โรงมหรสพ

๒.๒๖ สวนสัตว์ หรือสถานที่จัดแสดงสัตว์

๒.๒๗ อาคารสถานที่ของโรงเรียน หรือสถาบันการศึกษา

๓. สถานที่ได้รับผ่อนคลายตามข้อ ๒ สามารถเปิดดำเนินการหรือทำกิจกรรมบางอย่างได้ตามมาตรการผ่อนคลายให้ดำเนินการหรือทำกิจกรรมบางอย่างได้ ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๖๓ (ฉบับที่ ๖) ลงวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓ ข้อ ๑ ข้อกำหนด (ฉบับที่๓) ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๖๓ ข้อ๓ และข้อกำหนด (ฉบับที่ ๙) ลงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๓ ข้อ ๒ และข้อ ๓

๔. มาตรการป้องกันโรค

๔๑ สถานที่ได้รับการผ่อนคลาย ตามข้อ ๖ ผู้เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค ดังนี้

๔๑.๑ คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

(โควิด-19) ที่ ๒/๒๕๖๓ เรื่อง แนวทางปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนด

การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓ คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โควิด 19) ที่ ๓/๒๕๖๓ เรื่อง แนวทางปฏิบัติตามข้อกำหนด

ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๙๘ (ฉบับที่ ๒)

ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๓ และคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

(โควิด-19) ที่ ๔/๒๕๖๓ เรื่อง แนวทางปฏิบัติตามข้อกำหนตออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๓) ลงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๓

๔๑.๒ มาตรการป้องกันโรคตามที่กรุงเทพมหานครกำหนดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 แนบท้ายประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ ๘) ลงวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓ (ยกเว้น ข้อ ๑ ก ในส่วนการจัดระบบการเว้นระยะห่างระหว่างที่นั่ง (บุคคล) ไม่น้อยกว่า ๑.๕ เมตร หรือ กรณีมีระยะห่างระหว่างที่นั่ง (บุคคล) น้อยกว่า ๑.๕ เมตร ต้องจัดให้มีฉากกั้นระหว่างที่นั่ง(บุคคล) แต่ทั้งนี้ ระยะห่างระหว่างที่นั่ง (บุคคล) ต้องไม่น้อยกว่า ๑ เมตร) มาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิต-19 แนบท้ายประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว(ฉบับที่ ๙) ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๓ และมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แนบท้ายประกาศกรุงเทพมหานครนี้

๔.๒ สถานที่อื่นนอกเหนือจากประกาศนี้ ให้ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราการกำหนด และข้อ ๑๑ ของข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ผศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๑) ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๓

ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามอาจมีความผิดตามมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่กินหนึ่งปี หรือปรับไม่กินหนึ่งแสบท หรือทั้งจำทั้งปรับ และอาจมีความผิตตามาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แหกฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตมข้อ ๔ จะถูกสั่งปิดถานที่เป็นการชั่วคราว

อนึ่ง เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดผลเสียหาย อย่างร้ายแรแก่สาธารณชนหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้ง ตามมาตรา ๓๐

วรรคสอง (๑) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๓ ถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๓  หรือจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

บก.สื่อออนไลน์ชลนิวส์ทีวีออนไลน์ นภชนก เหมือนนามอญ ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ สื่อมวลชน พร้อมผู้นำท้องถิ่น บริษัท ห้างร้าน ร่วมแสดงความยินดีกันเพียบ

บก.สื่อออนไลน์ชลนิวส์ทีวีออนไลน์ นภชนก เหมือนนามอญ ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ สื่อมวลชน พร้อมผู้นำท้องถิ่น บริษัท ห้างร้าน ร่วมแสดงความยินดีกันเพียบ

Read More »

ข่าวยอดนิยม