เมื่อจิตสงบ ด้วยสมาธิ ให้พิจารณาทางด้านปัญญา
เมื่อจิตสงบเรียกว่า “จิตอิ่มอารมณ์” นำจิตที่อิ่มอารมณ์นี้ พิจารณาทางด้านปัญญา แยกธาตุแยกขันธ์สกลกายทั้งเขาทั้งเรา ทั้งหญิงทั้งชาย ทั้งสัตว์ทั้งบุคคลทั่วแดนโลกธาตุ พิจารณาแยกออก ทั้งส่วน “อนิจจํ ทุกขํ อนตฺตา” ความแปรปรวนของสิ่งเหล่านี้ ทั้งฝ่ายสุภะ อสุภะ ความสวยงามไม่สวยงาม ดูร่างกายของเรา ดูร่างกายของใครๆ ก็เป็นแบบเดียวกัน ไม่มีใครยิ่งหย่อนกว่ากันเรื่องอสุภะอสุภัง ทั้งหญิงทั้งชายเป็นแบบเดียวกันหมด เอามาพิจารณานี้ นี่เรียกว่าสนามรบกิเลสตัณหา มีราคะเป็นสำคัญ อสุภะอสุภังเอาลงให้หนัก ๆ เรียกว่าเยี่ยมป่าช้าผีดิบอยู่ในตัวของเรา พิจารณาดูรูปใดขันธ์ใดก็ตามให้พิจารณาแบบเดียวกันนี้ให้เน้นหนักทางเรื่องอสุภะอสุภัง
เมื่อจิตมีความสงบแล้วให้ออกทางด้านปัญญา อย่านอนอยู่เฉยๆ กับสมาธิ “สมาธิไม่ใช่ธรรมแก้กิเลส “ สมาธิคือความตีตะล่อมกิเลสที่ความฟ้าชานวุ่นวายทั้งหลายเข้ามาสู่ความสงบต่างหาก ทีนี้เมื่อจิตมีความสงบแล้วเรียกว่าอิ่มอารมณ์ เอาจิตที่อิ่มอารมณ์นี้ออกพิจารณาทางด้านปัญญา แยกธาตุแยกขันธ์ เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ นี้คืองานของเราผู้ที่จะทำตัวให้หลุดพันจากทุกข์ เป็นงานที่สำคัญมาก เราถนัดในงานใด เกสา หรือ โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจคือหน้าห้มห่อเอาไว้ คนเราจึงพอดูได้ หนังหุ้มห่อก็มีผิวหนังบาง ๆ หุ้มห่อหลอกเอาไว้ว่าสวยว่างาม ภายในเป็นอย่างเดียวกันหมด นี่ละปัญญาดูดูอย่างนี้ ถ้าตาเนื้อดู ดูผิวๆ เผินๆ เห็นแต่ผิวหนัง ก็เป็นบ้ากันไปเลย ผิวหนังทั้งหญิงทั้งชายก็เป็นบ้า มันก็มีผิวหนังเหมือนกันบางๆ เท่านั้นละ หลอกคนโง่ได้ง่ายทีเดียว
ทีนีปัญญาทะลุเข้าไป จากผิวหนังเข้าไปเป็นเนื้อ มันแดงโร่ เป็นหนัง หนังก็แดงโร่ เนื้อ เอ็น กระดูก ตับ ไต ไส้พุง แยกธาตุแยกขันธ์ พิจารณาแยกส่วนแบ่งส่วนออกเป็นของปฏิกูลโสโครก แล้วแต่อุบายวิธีการของผู้ปฏิบัติทางด้านปัญญา จะมีสติปัญญาพิจารณาพลิกแพลงหลายสันพันคน เพื่อรู้เหตุผลกลไกอันนี้แล้วจิตจะถอนจากอุปาทานออกมาเป็นล้าดับลำดา อสุภะชำนิชำนาญเท่าไร ผู้นี้ใกล้ต่อความพ้นทุกข์ละ
อสุภะอสุภังให้หนักนะ เวลาจิตสงบแล้วให้พิจารณาทางด้านปัญญา เมื่อก้าวเดินปัญญาเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ารู้สึกภายในจิตใจแล้ว ให้ย้อนจิตเข้ามาสู่สมาธิ อย่าเสียดายปัญญา….
ธรรมจาก หลวงตามหาบัว_ญาณสมฺปนฺโน ที่ทิ้งไว้ให้ลูกศิษย์