เปิดตำนานสุดมหัศจรรย์!!แห่กราบไหว้เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำปากพนัง “หลวงปู่เขียว”สุดอัศจรรย์สรีระสังขารสังขารไม่เน่าเปื่อย 43 ปี

เปิดตำนานสุดมหัศจรรย์!!แห่กราบไหว้เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำปากพนัง “หลวงปู่เขียว”สุดอัศจรรย์สรีระสังขารสังขารไม่เน่าเปื่อย 43 ปี

เปิดตำนานสุดมหัศจรรย์!!แห่กราบไหว้เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำปากพนัง “หลวงปู่เขียว”สุดอัศจรรย์สรีระสังขารสังขารไม่เน่าเปื่อย 43 ปี

เปิดตำนานเทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำปากพนัง“หลวงปู่เขียว อินทมุนี ”วัดหรงบน (หรงบล) สุดอัศจรรย์สรีระสังขารสังขารไม่เน่าเปื่อยนานกว่า 43 ปีมาแล้ว
(8 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในช่วงวัดหยุดยาวเนื่องในเทศกาลอาสาฬหกบูชา-เข้าพรรษา ประจำปี 2563 ที่ผ่านมาได้มีพุทธศาสนิกชนจำนวนมากเดินทางไปกราบไหว้สรีระสังขารของพ่อท่านเขียว หรือ หลวงปู่เขียว วัดหรงบน หมู่ 3 ต.บางตะพง อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งบรรจุอยู่ในโลงแก้วภายในอาคารยอดเจดีย์กลางวัดหรงบน โดยสรีระสังขาร มีสีดำคล้ำ แต่เน่าเปื่อยและแห้งแข็งเหมือนหิน หลังจากกราบสรีระสังขารพ่อท่านเขียวบรรดาผู้ที่เดินทางมาที่วัดได้เข้าไปในกุฏิไม้เก่าแก่ อายุกว่า 100 ปีที่เปิดเป็นศูนย์เช่าทอนวัตถุมงคลพ่อท่านเขียว ซึ่งนับว่าเป็นศูนย์ให้เช่าทอนวัตถุมงคลพ่อท่านเขียวของวัด และมีเพียงแห่งเดียวเท่านั้น


พ่อท่านเขียว หรือหลวงปู่เขียว ถือกำเนิดขึ้นในตะกูลชาวนา เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้นแรมไม่ปรากฏ เดือนยี่ ปีมะเมีย พ.ศ.2424 บิดาชื่อนาย ปลอด มารดาชื่อแป้น มีพี่น้อง 4 คน ชาย2 หญิง2 หลวงปู่เขียวเป็นพี่ชาวคนโต น้องชายชื่อนายพลับ น้องสาวชื่อนางเอียด และนางปาน น้องชายและน้องสาวเสียชีวิตก่อนท่าน เมื่อยังเยาว์วัย หลวงปู่เขียวอาศัยพระในบ้านช่วยสอนหนังสือให้อ่านเขียนได้ตามอักขระสมัย ท่านชอบศึกษาเล่าเรียนเป็นชีวิตจิตใจ โดยท่านตัดสินใจสละเพศฆราวาส เข้าสู่วัดเมื่ออายุได้ 22 ปี อุปสมบท ณ วัดคงคาวดี (วัดกลาง) ปีเถาะ พ.ศ.2446 พระครูสมัยนั้น เป็นพระอุปัชฌายะ พระครูบริหารสังฆกิจ (เต็ง) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระเกื้อเป็นพระกรรมวาจา ได้รับฉายาว่า “อินทมุนี”ได้ปรนนิบัติรับใช้ รับฟังโอวาทจากพระอุปัชฌายะชั่วระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้น หลวงปู่เขียว ก็กราบลาพระอุปัชฌายะ ไปศึกษาเล่าเรียนต่อกับพระอาจารย์เอียด วัดบน ซึ่งพระอาจารย์เอียดเก่งทั้งทางโลก และทางธรรม อบรมนิสัยให้เหมาะแก่สมณเพศ จนพ่อท่านเขียว อินทมุนี ท่านตั้งใจว่าขอถือบวชอยู่ในพุทธศาสนาตลอดไป เพื่อหาทางพ้นทุกข์ตัดอาสวะกิเลสให้สิ้น
พ่อท่านเขียว หรือ หลวงปู่เขียวท่านตัดสินใจเดินธุดงค์เป็นวัตร คือ ถือผ้านุ่งห่มบังสุกุล 3 ชิ้น มีผ้าสบง อังสะ จีวร บิณฑบาตร และฉันอาหารมื้อเดียว(เอกา)เป็นวัตร จึงกราบลาอาจารย์เดินธุดงค์สู่ป่าเขาลำเนาไพร หลวงปู่เขียวเดินธุดงค์ติดต่อกันหลายปี ผ่านจังหวัดกระบี่ ตรังสุราษฎร์ธานี ชุมพร สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ภูเก็ต พังงา และจังหวัดอื่นๆอีกหลายแห่ง ในปี พ.ศ.2467 หลวงปู่เขียวอายุได้ 53 ปีพอดี ท่านพระครูพิบูลย์ศีลาจารย์(เกลื่อม)เจ้าคณะ ต.บางตะพง อ.ปากพนัง ปกครองวัดกลาง (คงคาวดี) ศรัทธาต่อหลวงปู่เขียว ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่านเอง ต้องการได้ของดีจากอาจารย์เป็นที่ระลึก จึงหาผ้าขาวมา หาขมิ้นผงมาผสมน้ำทาใต้เท้า ใต้มือท่านแล้ว นิมนต์ท่านอธิฐานจิตกดเป็นผ้ายันต์แต่ไม่ค่อยชัดนัก ต่อมามีผู้ต้องการมากขึ้น จึงคิดหาหมึกจีนเป็นแท่งมาฝนกับฝาละมีทาเท้าบ้าง ทามือบ้าง ให้หลวงปู่อธิษฐานจิกเท้ากดลงบนผ้าขาวเป็นผ้ายันต์ปรากฏว่าชัดเจนสวยงามดี นับว่าผ้ายันต์รอยมือรอยเท้าหลวงปู่เขียวปรากฏแพร่หลายขึ้นเป็นครั้งแรกในภาคใต้ เมื่อมีผู้ศรัทธามาขึ้นจึงแพร่หลายบอกต่อกันไป มีประชาชนมาขอลูกอมท่านบ้าง หลวงปู่เขียวท่านเคี้ยวชานหมากเสร็จคลึงเป็นลูกอมแล้วมอบให้ บางคนท่านก็เอากระดาษฟางมาลงอักขระเป็นตัวหนังสือขอม หัวใจพระเจ้า 5 พระองค์ นะโมพุทธายะ เสร็จแล้วเอาเทียนสีผึ้งห่อหุ้มปั้นเป็นลูกอม หลวงปู่เขียวเป็นพระใจดี พูดน้อยใครขออะไรท่านก็จะทำให้ตามความต้องการแต่ละคน


“วัตถุมงคลที่หลวงปู่เขียว ท่านสร้างมีหลายอย่าง เช่น ผ้ายันต์รอยมือรอยเท้า เชือกคาด ลูกอมเทียน ชานหมาก พระปิดตา เหรียญพ่อท่านเขียวรุ่นต่าง ๆ และรูปหล่อลอยองค์ พระเครื่องหลวงปู่เขียว เป็นที่ต้องการกันมาก ล้วนแล้วแต่มีประสบการณ์ด้านปกป้องคุ้มครองสูงมาก พระเครื่องพ่อท่านเขียว วัดหรงบนเช่นผ้ายันต์รอยมือรอยเท้าผู้ที่โดนโจรปล้นวัวเกิดต่อสู้กัน เจ้าของวัวพกผ้ายันต์ท่าน กระสุนก็ไม่อาจทำอะไรคนที่พกผ้ายันต์ท่านได้ ซึ่งพุทธคุณพระเครื่องที่ท่านปลุกเสกนั้น โด่งดังไปไกลทั่วประเทศเป็นที่เล่าขานสืบต่อมาทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าด้านคงกระพัน มหาอุด หรือเมตตามหานิยม แคล้วคลาด ถือว่าวัตถุมงคลหลวงปู่เขียว วัดหรงบล (หรงบน) เป็นสุดยอดเกจิอันดับต้นๆของภาคใต้”
ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของ หลวงปู่เขียว วัดหรงบล อีกอย่างหนึ่งที่เกือบทุกคนรู้กันดีทั่วบ้านทั่วเมือง ก็คือหลังจากหลวงปู่เขียวท่านมรณภาพแล้ว ทางวัดได้เก็บรักษาสรีระของหลวงปู่ไว้ระยะหนึ่ง ซึ่งปรากฏว่า สรีระร่างกายของหลวงปู่เขียวท่านไม่เน่าเปื่อย และไม่มีกลิ่นเหม็นแต่อย่างใด และเมื่อถึงวันครบกำหนดประชุมเพลิง สรีระของท่านเผาไฟไม่ไหม้ แม้แต่ จีวร ที่ห่อหุ้ม สร้างความมหัศจรรย์เป็นยิ่งนัก ปัจจุบัน สรีระร่างอันอมตะของ หลวงปู่เขียว ก็ยังประดิษฐานอยู่ในหีบแก้วที่วัดหรงบน ทุกวันนี้จะมีผู้คนไปกราบไหว้สักการะบูชาอยู่เป็นประจำ


หลวงปู่เขียวยังมีสุขภาพแข็งแรงดีถึงแม้ท่านจะชราภาพมากแล้วก็ตาม ยังคงรับกิจนิมนต์ไปยังสถานที่ต่าง ๆ อยู่เสมอ เมื่อกลางปี 2519 ท่านรับกิจนิมนต์ให้ไปเป็นประธานงานศพของท่านอาจารย์คง วัดบางทองคำ อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช หลวงปู่เขียวได้จำวัดที่วัดบางทองคำในระหว่างงานศพ ทางคณะกรรมการวัดบางทองคำและลูกศิษย์ที่ติดตามได้ต้มข้าวมาถวายหลวงปู่เขียวให้ฉันในตอนเช้า เมื่อฉันข้าวต้มแล้วหลวงปู่ก็เดินลงจากกุฏิที่พักเพื่อจะไปเข้าห้องน้ำ ท่านก็ได้เป็นลมล้มลงที่หน้าประตูห้องน้ำนั้น ลูกศิษย์จึงรีบนำท่านมาปฐมพยาบาลเมื่อหลวงปู่เขียวอาการดีขึ้นแล้ว จึงบอกลูกศิษย์ที่ติดตามให้นำท่านกลับวัดหรงบน หลังจากหลวงปู่เขียวได้กลับมาวัดหรงบนเพื่อรักษาพยาบาลที่บนกุฏิของท่าน โดยท่านนอนอยู่ตรงมุมหน้าห้องของท่านตรงที่ท่านนั่งต้อนรับญาติโยมประจำ ทางลูกศิษย์ลูกหาได้ช่วยดูแลปรนนิบัติปฐมพยาบาลท่าน โดยหาหยูกยามาให้ท่านและหมอประจำหมู่บ้านก็มาฉีดยาให้ท่าน แต่อาการของท่านก็ไม่ดีขึ้นเลยมีแต่ทรง ๆ อยู่อย่างนั้นประมาณ 20 วันข่าวอาพาธของพระเถระแห่งอำเภอปากพนังทำให้พระเถระผู้ใหญ่ในอำเภอปากพนังในขณะนั้นมาเยี่ยมเยียนดูอาการกันอยู่เสมอ
จนเมื่อประมาณตอนสายๆของวันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคมพ.ศ.2519 มีพระอาจารย์เกลื่อม(พระครูพิบูลศีลาจารย์)วัดคงคาวดี พระอาจารย์ขำ วัดหงษ์แก้ว เจ้าคณะอำเภอปากพนังขณะนั้น และบรรดาพระภิกษุญาติโยมก็ได้มาเยี่ยมดูอาการหลวงปู่เขียวที่บนกุฏิของท่าน เมื่อถึงเวลาเพลพระภิกษุและสามเณรก็ไปฉันเพลกันที่กุฏิโรงฉัน ซึ่งตอนนั้นมีคุณยายแหวดลูกยกของหลวงปู่เขียวและญาติโยมนั่งเฝ้าดูอาการของหลวงปู่เขียวอยู่ “หลวงปู่เขียวได้ถามขึ้นมาว่าตอนนี้ตีเท่าไหร่แล้ว” คุณยายแหวดจึงตอบว่า “เพลแล้วหลวงปู่” หลวงปู่เขียวจึงพูดว่า “วันนี้ตีห้าฉันจะไป”(ห้าโมงเย็น)เมื่อคุณยายแหวดได้ยินดังนั้นก็ดีใจเพราะนึกว่าหลวงปู่เขียวอาการดีขึ้นแล้วจะไปรักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลปากพนังเพราะก่อนหน้านี้พระเถระและเจ้าคณะอำเภอปากพนังขณะนั้นก็ปรึกษากันว่าจะพาหลวงปู่เขียวไปรักษาที่โรงพยาบาลปากพนังดีไหม คุณยายแหวด จึงรีบไปบอกพระเถระทั้งหลายว่า หลวงปู่บอกว่า ตีห้าเย็นนี้จะไป เมื่อพระเถระทั้งหลายได้ยินดังนั้นจึงรีบฉันเพลเสร็จแล้วจึงรีบไปนั่งเฝ้าหลวงปู่เขียวที่บนกุฏิของท่าน แล้วก็พร้อมกันสวดมนต์พระปีติ(บทสรรเสริญพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ นิยมสวดให้กับผู้ใกล้จะตายฟัง)เมื่อคุณยายแหวดได้ยินพระสวดมนต์พระปีติก็รู้ทันทีที่หลวงปู่เขียวพูดว่า วันนี้ตีห้าฉันจะไปหมายความว่าอย่างไร หลังจากเที่ยงวันไปแล้วใน วันเสาร์ ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ.2519 หลวงปู่เขียวก็นอนพนมมือฟังพระสวดมนต์พระปีติอย่างสงบไม่ได้พูดอะไรอีก ในขณะที่ข่าวหลวงปู่เขียวใกล้จะมรณภาพก็ทำให้ญาติโยมลูกศิษย์ใกล้วัดหรงบนมานั่งเฝ้ากันบนกุฏิหลวงปู่เขียวจนแน่นล้นลงมาข้างล่างกุฏิ
จนเมื่อถึงเวลา 17.15 น.ของวันเสาร์ ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ.2519 ตรงกับ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 7 ปี มะโรง รวมอายุได้ 95 ปี 74 พรรษา หลวงปู่เขียว อินฺทมุนี เจ้าอาวาสวัดหรงบน พระเถระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งลุ่มน้ำปากพนัง ก็ได้สิ้นลมมรณภาพอย่างสงบตรงที่ ๆ ท่านเคยนั่งต้อนรับลูกศิษย์ญาติโยมบนกุฏิของท่าน และเพื่อให้ง่ายแก่การจดจำชาวบ้านจึงมักพูดสั้นๆ ว่าหลวงปู่เขียวมรณภาพ 5 โมงเย็นขึ้น 1ค่ำเดือน 7 หลายคนจึงเอาตัวเลขนี้ไปซื้อหวยกันในงวดวันที่ 1 มิถุนายน 2519 ปรากฏว่าหวยออก 175 ตรงกับเลขวันมรณภาพของหลวงปู่เขียวพอดีทำให้ชาวบ้านถูกหวยไปตามๆ กันถึงขนาดคนขายต้องล่มจมกันเลยทีเดียว
หลังจากหลวงปู่เขียวมรณภาพแล้วคณะลูกศิษย์และญาติโยมจึงนำศพของท่านบรรจุลงโลงศพไม้จำปาที่ท่านได้สั่งให้ทำไว้ก่อนแล้วเกือบปี แล้วจึงนำไปตั้งบำเพ็ญกุศลศพสวดพระอภิธรรมเจ็ดคำภีร์ในศาลาการเปรียญของวัดหรงบนเป็นเวลา 7 วัน 7 คืนโดยมีพระครูพิบูลศีลาจารย์ (เกลื่อม ฐานิสฺสโร) ศิษย์เอกของหลวงปู่เขียวเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ เมื่อบำเพ็ญกุศลศพครบ 7 วันแล้วก็ได้เก็บศพท่านไว้ 1 ปี เพื่อรอการเตรียมฌาปณกิจศพต่อไป ในระหว่าง 1 ปีที่เก็บศพหลวงปู่เขียวไว้ทุกวันพระ 8 ค่ำและ 14 -15 ค่ำจะมีการสวดพระอภิธรรม๗คำภีร์ทุกคืนจนถึงวันฌาปณกิจศพ โดยคณะกรรมการและลูกศิษย์หลวงปู่เขียวมีพระครูพิบูลศีลาจารย์เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ได้กำหนดให้ วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ.2520 ตรงกับขึ้น 1 ค่ำเดือน 7 ปีมะเส็ง เป็นวันฌาปณกิจศพหลวงปู่เขียว โดยก่อนที่จะถึงวันฌาปณกิจศพได้จัดให้มีการบำเพ็ญกุศลศพสวดพระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์ 7 คืนด้วยกัน ก่อนที่จะทำการบำเพ็ญกุศลศพตอนบ่ายโมงก็ได้ทำการแห่ศพหลวงปู่เขียวเวียนรอบเมรุจำลองสามรอบแล้วจึงนำศพขึ้นไปตั้งประดิษฐานบนเมรุจำลองสวดพระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์ตลอดทั้ง 7 คืน
เมื่อสมัยก่อนนั้นวัดหรงบนเป็นที่ธุระกันดารถนนหนทางก็ไม่มีการที่จะนำเอาเมรุจำลองมาได้นั้นก็ต้องขนกันมาทางเรือโดยเมรุจำลองนั้นก็ไปเช่ามาจากวัดทางจังหวัดสงขลา เมื่อบำเพ็ญกุศลศพหลวงปู่เขียวครบ 7 คืนแล้วในวันที่ 8 ช่วงบ่ายก็นิมนต์พระสวดมาติกาบังสุกุลพระเถระพิจารณาผ้าบังสุกุลวางดอกไม้จันทน์และให้ญาติโยมที่มาร่วมงานได้วางดอกไม้จันทน์กันหมดแล้ว หลังจากนั้นทางคณะกรรมการก็ได้นำเอาร่างของหลวงปู่เขียวออกมาจากหีบศพนุ่งห่มผ้าจีวรให้ใหม่แล้วนำมามัดให้ยืนไว้กับต้นเสาบนเมรุจำลองเพื่อให้ลูกศิษย์และญาติโยมผู้ศรัทธาเคารพในหลวงปู่เขียวได้กราบไหว้ได้เห็นหลวงปู่เขียวเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่จะทำการฌาปณกิจศพของท่าน เมื่อคณะกรรมการและประชาชนบางคนเห็นศพหลวงปู่เขียวแห้งและแข็งไม่เน่าเหม็นส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอยู่ครบสมบูรณ์จึงคิดอยากจะเก็บศพหลวงปู่เขียวไว้ แต่อีกหลายคนเห็นแย้งว่าได้จัดการมาถึงขนาดนี้แล้วและควรให้เป็นไปตามประเพณี พวกคนที่ไม่อยากให้เผาจึงว่าหลวงปู่เขียวศักดิ์สิทธิ์หากเผาแล้วไฟไม่ไหม้ก็จะขอเก็บเอาศพไว้ จึงตกลงกันว่าหากเผาศพหลวงปู่เขียวแล้วไฟไม่ไหม้ภายใน 1 ชม. จะเก็บศพเอาไว้ จะไม่เผาอีกต่อไป


ซึ่งในวันฌาปณกิจศพหลวงปู่เขียวนั้นมีประชาชนมาร่วมไว้อาลัยประมาณ 3,000 คนหลังจากได้ไปวางดอกไม้จันทน์กันแล้วบางคนก็กลับ แต่ยังคงมีประชาชนอยู่ร่วมฌาปณกิจศพอีกนับพันคน เมื่อถึงกำหนดเวลาฌาปนกิจสรีระสังขารหลวงปู่เขียว เวลา 02.30 น.วันที่ 29 พฤษภาคม 2520 ทางคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่เมรุจำลองก็ได้นำร่างของหลวงปู่เขียววางลงในรางเหล็กซึ่งเต็มไปด้วยถ่านและไม้จันทร์พร้อมทั้งได้ลาดน้ำมันก๊าดเอาไว้พร้อม พระครูพิบูลศีลาจารย์ก็นำพระภิกษุและประชาชนขอขมาโทษหลวงปู่เขียวเสร็จแล้วพระอาจารย์เพชร จิตฺตเสโน ศิษย์หลวงปู่เขียวก็ได้เอาดอกไม้จันทน์มาจุดไฟวางลงในรางเหล็กที่เต็มไปด้วยน้ำมันก๊าดไฟก็ลุกขึ้นอย่างโชติโชนจนท่วมศพหลวงปู่เขียว เสียงพลุไฟพะเนียงประทัดก็ถูกจุดขึ้นดังสนั่นลั่นวัด พระสงฆ์ 4 รูปก็สวดพระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์เป็นวาระสุดท้ายในการบำเพ็ญกุศลศพหลวงปู่เขียว อินทมุนี

จนเวลาในการฌาปนกิจศพหลวงปู่เขียว ผ่านไปประมาณ 1 ชั่วโมงคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่เผาศพบนเมรุจำลองสังเกตเห็นว่าศพหลวงปู่เขียวยังสมบูรณ์ดีอยู่ แม้กระทั่งจีวร เส้นเกศา เล็บมือเล็บเท้า เนื้อหนังไม่ได้โดนไฟไหม้แม้แต่น้อยคง โดยไฟไหม้แต่ดอกไม้จันทน์ฟืนไม้จันทร์และถ่านเท่านั้นที่มอดไหม้ไปกับไฟ จึงนำเรื่องมากราบเรียนแก่พระครูพิบูลศีลาจารย์ประธานฝ่ายสงฆ์ คณะกรรมการและลูกศิษย์ จึงตกลงกันว่าให้หยุดเผา จากนั้นนำศพหลวงปู่เขียวออกออกมา จากเมรุเผาศพ ท่ามกลางประชาชนที่ร่วมฌาปณกิจศพหลวงปู่เขียวหลายพันคน ที่ต่างทึ่งกับสิ่งอัศจรรย์ที่เกิดขึ้น และกล่าวขานเป็นเสียงเดียวกันว่าหลวงปู่เขียวท่านศักดิ์สิทธิ์จริง ๆ ต่างพากันกรูเข้าไปเพื่อเก็บเอาชิ้นส่วนต่าง ๆ ทั้งถ่านไฟและไม้ฟืนด้วยความเลื่อมใสศรัทธา ทางคณะกรรมการและลูกศิษย์หลวงปู่เขียวต้องช่วยกันห้ามเอาไว้ไม่ให้ประชาชนเข้ามาฉีกเอาจีวรที่ห่มร่างหลวงปู่เขียวและประกาศให้ทุกคนอยู่ในความสงบเรียบร้อย ซึ่งทางคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่จึงเปลี่ยนจีวรที่ห่มศพตอนเผาแล้วนำมาตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆเพื่อให้พอแจกกับประชาชนให้ได้กันทุกคน และต่อมาได้มีการสร้างอาคารยอดเจดีย์ก่อนนำสรีระสังขารหลวงปู้เขียว อินทมุนี ขึ้นไปประดิษฐานไว้ในฐานอาคาร จนกระทั้งถึงทุกวันนี้สรีระสังขารพ่อท่านเขียว หรือ หลวงปู่เขียวไม่เน่าเปื่อย ไม่เหม็น ในปัจจุบันมีสีดำคล้ำ แข็งดั่งภูผาหินรวมระยะเวลายาวนาน กว่า 43 ปีมาแล้ว
ไพฑูรย์ อินทศิลา /กัญญาณัฐ เพ็ญสวัสดิ์ /นครศรีธรรมราช

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

ข่าวยอดนิยม