พ่อค้าชายแดนใต้เมืองเบตงโอดราคาหมูทะลุกิโลละ 170 ต้องขาดทุนทุกวัน

พ่อค้าชายแดนใต้เมืองเบตงโอดราคาหมูทะลุกิโลละ 170 ต้องขาดทุนทุกวัน

พ่อค้าชายแดนใต้เมืองเบตงโอดราคาหมูทะลุกิโลละ 170 ต้องขาดทุนทุกวัน


เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 18 ก.ค. ที่ตลาดสดเทศบาล เมืองเบตง อ.เบตง จ.ยะลา ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่สำรวจราคาจำหน่ายหมูสด หมูเนื้อแดง หมูสามชั้น สันคอหมู หลังพบว่ามีการปรับราคาสูงขึ้นจากเดิม โดยหมูสันในจากเดิม กิโลกรัมละ 160 บาท ปรับราคาเป็น 170 – 175 บาท หมูเนื้อแดงจากเดิม กิโลกรัมละ 150 บาท ปรับราคาใหม่เป็น160-170 บาท
ส่วนราคาหมูหน้าฟาร์มปรับราคาสูงขึ้นจากเดิม 74บาท ปรับราคาใหม่เป็น 82 บาท ภายในระยะเวลา 1 เดือน ซึ่งถือเป็นการปรับราคาขึ้นเร็วและแพงมากที่สุด


นายอภิชาติ พคพงษ์พันธ์ อายุ 58 ปี พ่อค้าเขียงหมู ชาว อ.เบตง จ.ยะลา กล่าวว่า ปัจจัยหลักที่อาจทำให้หมูราคาแพงภายหลังจากปลดล็อกโควิด -19 คือการที่สามารถส่งหมูออกไปจำหน่ายต่างประเทศได้ อีกทั้งในช่วงที่ผ่านมาหมูเลี้ยงอาจจะตายเยอะ ทำให้จำนวนประชากรหมูลดลง ก็เป็นปัญหาเดิมๆ เพราะเวลาหมูเป็นตัวน้อยลง ฟาร์มก็ปรับราคาขึ้น
“ซึ่งการปรับขึ้นราคาหมุหน้าฟาร์มครั้งนี้ปรับขึ้นเร็วกว่าปกติ เพราะหลังจากปลดล็อกโควิด-19 ทำให้ราคาก็ขยับขึ้นมาเรื่อยๆ ตั้งแต่เดือน มิ.ย. จากเดิมหมูเป็นหน้าฟาร์ม กิโลกรัมละ 70 บาท ตอนนี้ปรับราคาขายเป็นกิโลกรัมละ 75-85 บาท ทำให้ราคาขายปลีกเนื้อหมูในตลาดสดต้องปรับราคาขึ้นตามจากเดิมอยู่ที่ กิโลกรัมละ 150-155 บาท ปรับราคาขึ้นเป็น 160-170 บาท


ซึ่งเป็นการปรับราคาเร็วและแพงสุด แต่ราคาหมูที่แพงแบบนี้เกิดขึ้นบ่อย แต่ไม่เคยคิดว่าจะปรัชจึ้นแบบนี้ซึ่งบรรดาพ่อค้า แม่ค้า เขียงหมูต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “ขออย่าให้ราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มขยับราคาขึ้นอีก ขอให้ราคานิ่งเท่านี้ไปก่อนเพราะยังสามารถอยู่ได้ ลูกค้ายังพอมีกำลังซื้อ แต่ถ้าราคาหน้าฟาร์มขยับราคาขึ้นอีก ก็จะเริ่มขายยาก เพราะตอนนี้ลูกค้าก็มาซื้อลงลดจากเดิมเคยซื้อ 10 กิโลกรัม ก็ลงลดเหลือ 5 กิโลกรัม” นายอภิชาติ กล่าว
นายอภิชาติ กล่าวต่อว่า อยากให้รัฐบาลเข้ามาคุมราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มอย่างเร่งด่วน โดยขอให้ราคาลดลงคุมราคาอยู่ที่ 70-75 บาท เหมือนเดิม ราคาขายปลีกหน้าร้านก็จะอยู่ที่ 160 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ยังพอรับได้ ลูกค้าจะได้หันกลับมาซื้อเนื้อหมูไปบริโภคกันมากขึ้น เพราะขณะนี้แม่ค้า-พ่อค้าเขียงหมูเดือดร้อนมาก ถ้าขายแพงลูกค้าก็ไปซื้ออย่างอื่น ทำให้การขายหมูทุกวันนี้ไม่มีกำไร และต้องขาดทุนทุกวัน แต่ยังไงก็ต้องขายเพราะเห็นใจประชาชนที่ได้รับผลกระทบจาก สถานการณ์ โควิด-19

เจษฎา สิริโยทัย อ.เบตง จ.ยะลา

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

ข่าวยอดนิยม