2 บริษัทยักษ์ใหญ่ ร่วมมือพัฒนา วิจัย “เครื่องบินทะเล” กองทัพเรือ สู่การใช้งานได้จริง

2 บริษัทยักษ์ใหญ่ ร่วมมือพัฒนา วิจัย “เครื่องบินทะเล” กองทัพเรือ สู่การใช้งานได้จริง

  งานวิจัยสร้างต้นแบบเครื่องบินทะเลนามพระราชทาน” ชลากาศยาน” อีกหนึ่งทางเลือกเพื่อสนับสนุนงานวิจัยเชิงพัฒนา  ด้านอุตสาหกรรมการบินภายในประเทศ  ต่อยอด  ขยายผล ให้ประเทศมีการพัฒนาก้าวไกล  ควบคู่ไปกับรักษาองค์ความรู้เรื่องเครื่องบินทะเลอย่าง ก้าวไกล  มั่นคง  ยั่งยืน  สามารถนำไปใช้ ในภารกิจสำคัญทางทะเลให้กองทัพ รวมถึงองค์กรอื่นๆภายในประเทศ  สามารถใช้ประโยชน์กับเครื่องบินทะเล เพื่อการบรรเทาสาธารณภัย  การเข้าถึง  การช่วยเหลือการสำรวจ ตรวจการณ์ ในทะเล  แม่น้ำ  ลำคลอง  อ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ที่อุปกรณ์  เครื่องมืออื่นๆ  ที่เข้าถึง ด้วยความยากลำบาก อันตราย หรือไม่สามารถเข้าถึงได้  เครื่องบินทะเล จะสามารถตอบโจทย์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  ความสำคัญของงานวิจัย  เครื่องบินทะเล ต้องเกิดลักษณะ เชิงประจักษ์ ในเรื่องข้อมูล หลักฐาน ควบคู่ไปกับพันธมิตรที่มีขีดความสามารถทั้งศาสตร์  และศีลปะ ด้านนี้โตยตรง  เข้ามาเป็นพลังร่วม สนับสนุนให้เกิดการผลิต ตามเป้าประสงค์ของทางราชการ รวมถึงความต้องการ การใช้งานของภาครัฐ เอกชน  โดยมีกองทัพเรือ เป็นแม่งาน  เพื่อให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐาน  ยึดหลักวิศวกรรมการบิน ให้เกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ภายในประเทศ  ให้เครื่องบินทะเล สามรถปฏิบัติการในอากาศ  บนบก  แหล่งน้ำ พื้นผิวน้ำทะเล น้ำจืด   ให้ประจักษ์ต่อสายตาชาวโลก และ สนองปรัชญาการพึ่งพาตนเอง ของพ่อหลวง  อีกทั้งสนับสนุนนวัตกรรม สู่การพัฒนาประเทศ สู่ความ “มั่งคั่ง  มั่นคง  ยั่งยืน” ในที่สุด

นายไพโรจน์ กอวัฒนา กรรมการผู้จัดการบริษัท ศรีราชาเอ็นจิเนียริ่ง  ดีเวลคอปเมนท์ จำกัด ต.หนองขาม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี กล่าวว่า  ทางบริษัทฯได้ติดตามผลการดำเนินงาน ความคืบหน้าโครงการวิจัยเครื่องบินทะเล ของกองทัพเรือ มาตั้งแต่เริ่มโครงการ ได้เห็นถึงความวิริยะ อุตสาหะ ความเพียรพยายามของทีงานวิจัย เครื่องบินทะเล กองทัพเรือ ท่ามกลางการบริหารความเสี่ยงในการทดลองทั้งบนอากาศ และการขึ้น –ลง ในทะเล เพื่อผลักดันให้สู่การใช้งานได้จริง มาอย่างต่อเนื่อง 

จึงได้ตัดสินใจเป็นพันธมิตรใหม่เข้ามาร่วมการวิจัย ด้วยการบันทึกข้อตกลงเพื่อร่วมมือกันศึกษาความเป็นไปได้ในการวิจัย และพัฒนา ตลอดจนการขยายผลการวิจัย รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยี ออกแบบ ทดสอบ ประเมินประสิทธิภาพ เมื่อโครงการสมบูรณ์ ก็จะส่งมอบให้กองทัพเรือ ดำเนินการต่อไป

พลเรือโท กฤชพล  เรียงเล็กจำนงค์  ผู้อำนวยการท่าอากาศยานอู่ตะเภา กล่าวว่า ใกล้เวลาที่ทีมวิจัยสร้างเครื่องบินทะเล โดยมี พลเรือโท สมหมาย ปราการสมุทร ผู้ริเริ่มโครงการ คงได้เห็น “แสงสว่างปลายอุโมงค์ “ต่อเมื่อ บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด โดยมี พลเรือตรี เอก สารสาส กรรมการผู้จัดการ นาวาเอก ปริศฎางค์  เทศขุตทด  รองคณะกรรมการผู้จัดการ ได้บันทึกข้อตกลงเพื่อบูรณาการสนับสนุนความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา ในสาขาวัสดุศาสตร์ วิศวกรรม และการผลิต รวมทั้งสาขาเทคโนโลยีอื่น ๆ เพื่อพัฒนาการใช้ประโยชน์จากโครงการวิจัยให้สู่จุดหมายใช้งานได้จริง และยังมี ได้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัย และพัฒนา โครงการวิจัยจัดสร้างต้นแบบเครื่องบินทะเล   แบบ 2 ที่นั่งไปสู่การได้รับรองมาตรฐานใบสมควรเดินอากาศ

และ กล่าวอีกว่า  โครงการวิจัยนี้ ได้พันธมิตร มาเพิ่มอีกหนึ่งบริษัท คือ  นายไพโรจน์ กอวัฒนา กรรมการผู้จัดการบริษัท ศรีราชาเอ็นจิเนียริ่ง  ดีเวลคอปเมนท์ จำกัด ต.หนองขาม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเครื่องมือกล และเครื่องจักรกล  พันธมิตรที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 2 บริษัท ถือว่าเป็นเรื่องดี ในการนำความรู้  ความเชี่ยวชาญในหลาย ๆ ด้าน  มาแชร์ประสบการณ์  บูรณาการร่วมกันอีกด้วย

   พัชรพล  ปานรักษ์    รายงาน

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

ข่าวยอดนิยม