มท.2 เปิดการฝึกกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (ส่วนหน้า) เตรียมความพร้อมเครื่องจักรกลสาธารณภัย เครื่องมือ แบบบูรณาการ

มท.2 เปิดการฝึกกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (ส่วนหน้า) เตรียมความพร้อมเครื่องจักรกลสาธารณภัย เครื่องมือ แบบบูรณาการ

วันที่ 26 สิงหาคม 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 2 สุพรรณบุรี อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานเปิดการฝึกกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (ส่วนหน้า) เตรียมความพร้อมเครื่องจักรกลสาธารณภัย เครื่องมือ แบบบูรณาการ โดยมีนายภูสิต สมจิตต์ รอง ผวจ.สุพรรณบุรี รองผวจ.ราชบุรี รอง ผวจ.กาญจนบุรี รอง ผวจ.นครปฐม นายชาญชัย  อตมศิริกุล ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 2 สุพรรณบุรี  รองเสนาธิการมณฑลทหารบกที่ นายบุญชู จันทร์สุวรรณ นายก อบจ.สุพรรณบุรี ให้การต้อนรับ

นายภูสิต สมจิตต์ รอง ผวจ.สุพรรณบุรี กล่าวว่า ด้วยคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่  9 มิถุนายน 2563เห็นชอบ ได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย  กระทรวงกลาโหม  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เตรียมความพร้อมเครื่องจักรกล เครื่องมือ           ในการให้ความช่วยเหลือประชาชนได้ทันเหตุการณ์ โดยให้เครื่องจักรกลอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงได้จัดทำโครงการฝึกกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (ส่วนหน้า) ประจำปี พ.ศ.2563 ขึ้น               พร้อมจัดให้มีกิจกรรมการเตรียมความพร้อมเครื่องจักรกลสาธารณภัย เครื่องมือ แบบบูรณาการ ประกอบด้วยหน่วยงานที่เข้าร่วม ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี และหน่วยงานระดับภาค และเขตโดยการฝึกอบรมให้ความรู้ระเบียบปฏิบัติประจำ ด้านการจัดตั้งและยกเลิกกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (ส่วนหน้า) ให้กับบุคลากรของศูนย์ฯ และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดในเขตรับผิดชอบ และการฝึกการปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติประจำแบบบนโต๊ะ (Table Top Exercise) โดยได้รับการสนับสนุนวิทยากรจาก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

นายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มหาดไทย กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าปัจจุบันเรามีภัยที่คุกคามความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน ภัยธรรมชาติที่เกิดจากภัยธรรมชาติ วาตภัย อุทกภัย ภัยแผ่นดินไหวแผ่นดินโคลนถล่ม หรือแม้แต่ภัยอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นหลายอย่างที่เกิดขึ้นกับประชาชน ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิต ร่างกายทรัพย์สิน ของพี่น้องประชาชนในแต่ละครั้ง  ดังนั้นต้องมีการเตรียมการในการที่จะป้องกันภัย ต่าง ๆ เหล่านี้ จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง  โดยเฉพาะสิ่งสำคัญที่ทำอย่างไรให้พี่น้องมาเสียชีวิตเพราะภัยต่าง อะไรที่เราสามารถเตรียมตัวฝักซ้อม ในภาวะต่าง ๆ ได้ จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ทุกท่านจะต้องบูรณาการร่วมกัน  เพราะเรามีภาระกิจในหลายหน่วยงาน  กรมป้องกันบรรเทาสาธารภัยหรือว่าหน่วยงานทหาร ซึ่งเป็นกำลังหลักทุกครั้ง ที่มีภัยต่าง ๆ  ในส่วนขององค์การปกครองท้องถิ่น มูลนิธิต่าง ๆ  ต้องบูรณาการ ประสานกัน วันนี้จึงมีความจำเป็นเข้ามาช่วยกันฝึกอบรม ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติร่วมกัน ว่าทำอย่างไร ที่จะก่อให้เกิดการับมือกับภัยพิบัติต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ก่อให้เกิดการสูญเสีย  สิ่งสำคัญเราไม่ต้องการให้เกิดการสูญเสียชีวิต หลังจากนั้นเรามาดูแลทรัพย์สินอื่น ๆ ถ้าหากว่ามันหลีกเลี่ยงมันจำเป็นต้องมีความเสียหาย รัฐบาลมีมาตรการในการเยี่ยวยา  ในการบรรเทาผลร้ายที่เกิดขึ้น สิ่งสำคัญเราไม่อยากให้ชีวิตสูญหาย รัฐชดเชยกรณีเสียชีวิต 25000 ถ้าหัวหน้าครอบครัว อีก 25000  ได้เป็น50000  ซึ่งถ้าไม่ให้เสียชีวิตได้นี้คือหัวใจ การฝึกซ้อมจึงเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่าง สม่ำเสมอ มาตรการการช่วยเหลือเครื่องมือที่ทันสมัยรัฐบาลพยายามจัดสรรมาให้ เครื่อง มือใดที่คิดว่ามีความจำเป็นอาจใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ใช้เครื่องกลไกลมากขึ้น ก็จำเป็นจัดหามาให้การจัดหามาให้แล้วก็ให้นำไปสู่การใช้ที่มีประโยชน์   ดังนั้นการฝึกซ้อมวันนี้จึงถือว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง

ด้านนายชาญชัย  อตมศิริกุล ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 2 สุพรรณบุรี  กล่าวเพิ่มเติมว่า การฝึกอบรมในครั้ง จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 25-27 สิงหาคม 2563  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้เครื่องมือ เครื่องจักรกลสาธารณาภัยสำหรับเตรียมพร้อมรับมืออุทกภัย(ผู้ช่วยปฏิบัติงานเครื่องจักรกลบรรเทาสาธารณภัย/การแบ่งกลุ่ม TTXภายในโครงสร้างการบริหารงาน บกปภ.ช(ส่วนหน้า) เพื่อฝึกการบูรณาการประสานงาน และการประสานการปฏิบัติงาน ภายใน EOC  โดยมี นายเชษฐา โมสิกรัตน์ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย /ผู้แทนจากมณฑลทหารบกที่ 17 /ผู้แทนจากกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสุพรรณบุรี /นายนรินทร์ ทรงนิพิฐกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี /นายขจรเกียรติ รักพาณิชมณี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม /นายพงษ์พันธ์ แสงสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี /ภาคีเครือข่าย จาก สำนักงานปภ.จังหวัด /องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและมูลนิธิกู้ชีพ กู้ภัย จากจังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี และนครปฐมเข้ารับการฝึก ประมาณ 160 คน

วัฒนพล มัจฉา-พัฒนะ พัฒนศรี ผู้สื่อข่าวจังหวัดสุพรรณบุรี

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

ข่าวยอดนิยม