เปิดจุดแลนด์มาร์คบ้านวัฒนธรรมโบราณ ส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมและสินค้าพื้นเมือง จ .นครพนม

เปิดจุดแลนด์มาร์คบ้านวัฒนธรรมโบราณ ส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมและสินค้าพื้นเมือง จ.นครพนม

เปิดจุดแลนด์มาร์คบ้านวัฒนธรรมโบราณ ส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมและสินค้าพื้นเมือง จ.นครพนม

วันที่ 29 ธันวาคม 2563 ที่บริเวณถนนสวรรค์ชายโขง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานนำคณะหัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนประชาชนและนักท่องเที่ยว ร่วมเยี่ยมชมบ้านวัฒนธรรมโบราณและกิจกรรมท่องเที่ยววัฒนธรรม รวมชนเผ่าไทนคร 8 ชนเผ่า 2 เชื้อชาติ ที่จังหวัดนครพนม จัดขึ้นเพื่อให้ผู้ที่มาเยือนจังหวัดนครพนมได้สัมผัสวิถีชีวิตคนนครพนม ภายใต้แนวคิดที่ต้องการการท่องเที่ยวในพื้นที่ การส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมชนเผ่า ตลอดจนการจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง สินค้า OTOP เพื่อเป็นของฝากของที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไป

โดยกิจกรรมในครั้งนี้เกิดขึ้น เนื่องจากการที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากเดินทางมาเยือนจังหวัดนครพนม แล้วมีการสอบถามว่าจะหาซื้อของฝากของที่ระลึกของจังหวัดนครพนมได้ที่ไหนที่สะดวกที่สุด หรือว่าบางคนอยากไปลองสัมผัสบรรยากาศความเป็นกันเองของแต่ละชนเผ่าต้องไปที่ใดได้บ้าง หรือบางคนได้ไปสัมผัสแล้วอยากให้คนอื่นได้เห็น จึงเป็นเสียงสะท้อนและก่อให้เกิดการรวมเอาเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของคน 8 ชนเผ่า 2 เชื้อชาติที่อาศัยอยู่ในนครพนมในครั้งนี้ขึ้นมา โดยผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมได้มอบหมายให้อำเภอทั้ง 12 อำเภอ จัดสร้างบ้านวัฒนธรรมโบราณของแต่ละชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในอำเภอของตนเองขึ้นมา จำนวน 12 หลัง โดยใช้พื้นที่สาธารณประโยชน์ที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงห่างจากองค์พญาศรีสัตตนาคราชไปทางทิศใต้ประมาณ 2 กิโลเมตรเป็นสถานที่ก่อสร้าง

ซึ่งบ้านแต่ละหลังจะสร้างจากไม้เก่าทั้งหมด ลักษณะตัวบ้านเป็นแบบบ้านยกสูงมีชานยื่นออกมาโดยทุกหลังจะมีลักษณะแข็งแรงถาวร จากนั้นมีการประดับตกแต่งให้สวยงามตามเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของแต่ละชนเผ่าที่ได้การสอดแทรกจินตนาการ ศิลปวัฒนธรรม ที่สืบทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้บ้านแต่ละหลังมีความโดดเด่นกลายเป็นจุดสนใจที่ใครผ่านมาตรงนี้ต้องแวะมาถ่ายภาพเก็บไว้เป็นที่ระลึกตั้งแต่เริ่มมีการก่อสร้างใหม่ กระทั่งแล้วเสร็จสมบูรณ์ ทำให้สถานที่แห่งนี้กลายเป็นอีกหนึ่งจุดแลนด์มาร์คที่ประชาชนและนักท่องเที่ยวอยากมาลองสัมผัสกับการเล่าแบบปากต่อปากและเห็นจากสื่อโซเชียล

โดยในปัจจุบันได้มีการประดับตกแต่งสถานที่เพิ่มเติมด้วยธุงอีสานที่ชาวบ้านได้ร่วมแรงร่วมใจกันทำขึ้นรวมกว่า 4,000 ต้น ทำให้สถานที่แห่งนี้เต็มไปด้วยความสวยงามแห่งสีสัน นอกจากนี้ชาวบ้านยังได้นำเอาสินค้า OTOP สินค้าพื้นเมืองที่เป็นสินค้าเด่นของแต่ละอำเภอมาวางจำหน่ายด้วย ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องประดับตกแต่งบ้าน เครื่องมือจักสาน และสินค้าอื่น ๆ อีกมากมาย

ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถมาเช็คอินเพื่อสัมผัสและมีความสุข สนุกกับวิถีชีวิต Slow life ของคนนครพนมในบรรยากาศชิวล์ๆ ริมฝั่งโขง ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ทั้งนี้แต่ละอำเภอจะมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนส่งเจ้าหน้าที่มาจัดจำหน่ายสินค้าและแสดงศิลปวัฒนธรรมให้ได้ชมทุกวัน 

ข่าว – ภาพ ประทีป วชิระธัญญากุล ผู้สื่อข่าวประจำ จ.นครพนม

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

ข่าวยอดนิยม