กลุ่มพ่อค้ายางพารา เกษตรกร และสหกรณ์ยางพารา ภาคอีสาน จำนวนสมาชิก 5,000 ราย สูญเงินประมาณ 400 ล้านบาท ได้ขายยางพาราให้กับบริษัทมหาชน ไม่ได้รับเงินค่ายางพาราต้องไปกู้เงิน ขณะนี้เดือดร้อนอย่างหนัก ต้องเอาบ้านและที่ดินไปจำนองเพื่อมาชำระหนี้
เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2563 ที่บริเวณด้านหน้า เคทีเพลส ซอยพัฒนา ถนนชยางกูร อ.เมือง จังหวัดมุกดาหาร นายเรืองวิสิฐ วงศ์อนันต์ ทนายความผู้ประสานงานกับชาวสวนยาง ได้พากลุ่มพ่อค้ายางพารา เกษตรกร และสหกรณ์ยางพารา ภาคอีสาน เรียกร้องความเป็นธรรม กรณีบริษัทมหาชนรับซื้อยางพารายักษ์ใหญ่ฉ้อโกงการขายยางพารา เจ้าหน้าที่ดีเอสไอ ให้ความร่วมมือไกล่เกลี่ย พร้อมกับยอมชดใช้ให้ จนชาวบ้านต้องฟ้องร้องคดีอาญากับบริษัทมหาชาดังกล่าว ซึ่งในเรื่องนี้ศาลอุทธรณ์ได้พิจารณา จนผู้บริหารทั้งหมด และบริษัทได้ตกเป็นจำเลย
สืบเนื่องจากกลุ่มบริษัทมหาชนแห่งหนึ่งในจังหวัดมุกดาหาร ได้ส่งเจ้าหน้าที่พร้อมกับออกรหัสทำการซื้อขายยางพาราจากประชาชนในพื้นที่ภาคอีสาน แต่ได้มีการเอาเปรียบประชาชน ในลักษณะของการฉ้อโกงพยายามที่จะจ่ายเงิน ในการซื้ออย่างนั้น ราคาต่ำกว่ากลไกของตลาด โดยอ้างคุณภาพไม่ได้มาตรฐานจนกระทั่งได้มีการร้องเรียนไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ แต่ผู้บริหารบริษัทดังกล่าว ได้มีการปฎิเสธว่าไม่ได้กระทำความผิดตามที่ร้องเรียน และมีการสอบสวนแต่ข้อเท็จจริงเกิดการขัดแย้งกัน เนื่องจากมีประชาชนบางส่วนได้ถูกเจ้าหน้าที่ดีเอสไอที่บางคนกระทำการโดยมิชอบพยายามไกล่เกลี่ยให้ บริษัททำการจ่ายค่าชดเชยเยียวยา จึงเกิดคำถามขึ้นว่า แต่เมื่อบริษัทไม่ผิดทำไมต้องยินยอมจ่ายค่าชดเชยเยียวยา
นายเรืองวิสิฐ วงศ์อนันต์ ทนายความผู้ประสานงานกับชาวสวนยางพารา กล่าวว่า การที่มีกลุ่มผู้เสียหาย และสหกรณ์ยางพาราทั่วภาคอีสาน ประมาณ 7-8 จังหวัด หลงเชื่อว่า คุณนิตยา วณศิริกุลวงศ์ ได้โควตาในการส่งยางมาจากบริษัทรับเบอร์แลนด์ กลุ่มผู้เสียหายหลงเชื่อก็ได้มีการส่งยางพาราจำนวนมาก ให้กับบริษัทสุดท้ายแล้ว บริษัทมีการกำหนดราคายางของที่ส่งในนามรหัส ของคุณนิตยาฯ ต่ำกว่ารายอื่น ๆ หลายสิบบาท และต่ำกว่าราคากลางเป็นอย่างมาก และเปอร์เซ็นต์ยางของบริษัทกำหนดให้ก็ต่ำกว่าของรายอื่น ที่ส่งในวันเดียวกัน ซึ่งปกติบริษัทยืนยันตลอดว่า ราคายางลูกค้าทุกรายต้องได้เท่าเทียมกัน แต่ปรากฏว่ายางที่คุณนิตยาฯ ส่งได้ราคาต่ำกว่าลูกค้ารายอื่น จนเป็นเหตุของความเสียหาย ประมาณ 400 ล้านบาท ซึ่งสหกรณ์ต่าง ๆ ที่ได้รับความเสียหายประมาณ 30 สหกรณ์ และมีกลุ่มพ่อค้าคนกลางอีกประมาณ 30-40 ราย ได้รับความเสียหาย
นายเรืองวิสิฐ วงศ์อนันต์ กล่าวต่ออีกว่า หลังจากพอเกิดเป็นมูลคดีแล้ว มีการไปร้องต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ จนพนักสอบสวนสั่งไม่ฟ้องกลุ่มบริษัท ก็เลยเป็นเหตุให้ทางกลุ่มพ่อค้ายางพารา และสหกรณ์ดอนตาลสอง ได้นำคดีมาฟ้องด้วย ตนเองต่อศาลจังหวัดมุกดาหาร ว่าต้นเหตุที่แท้จริงเกิดจากบริษัทเป็นการฉ้อโกง หลอกลวง ปกปิดข้อความจริง การที่ฟ้องด้วยตนเองต้องมีการไต่สวนมูลฟ้อง ท้ายที่สุดหลังจากไต่สวนมูลฟ้อง ศาลชั้นต้นได้พิพากษาไม่รับฟ้องของโจทย์ทั้ง 4 ไว้พิจารณา หลังจากนี้โจทย์ได้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ ภาค 4 ซึ่งศาลอุทธรณ์ได้กลับคำพิพากษาได้รับฟ้องของโจทย์ไว้พิจารณา ส่วนวันพรุ่งนี้ ( 10 มิ.ย.) ทางศาลจังหวัดมุกดาหาร ได้นัดกลุ่มบริษัทศรีตรัง ผู้บริหาร พนักงาน มารับทราบข้อกล่าวหา สอบคำให้การเวลา 09.00 น.
ส่วนกรณีตกเป็นผู้ต้องหาคุณนิตยาฯ เป็นเจ้าของรหัส เป็นโปรกเกอร์ เป็นคนกลาง ส่วนใหญ่ผู้เสียหายในครั้งแรกเข้าใจคิดว่า ความผิดเกิดจากคุณนิตยาฯ มาหลอกลวงจริง แต่สุดท้ายได้ตรวจสอบเอกสาร ต้นเหตุความเสียหายเกิดจากบริษัทไม่ได้กำหนดราคาดีอาร์ซีต่ำมาแต่แรกแล้ว โดยที่คุณนิตยาเองอาจจะไม่รู้ แต่โจทย์ทั้ง 4 ได้ร่วมกันฟ้องกับโจทย์ไปด้วย เนื่องจากได้เป็นเจ้าของรหัส ที่เชื่อมกับโรงงานอีกทีหนึ่ง
ในส่วนของเช็คเงินเยียวยา ผู้เสียหายในระหว่างพนักงานสอบสวน กรมสอบสวนคดีพิเศษ ชุดที่ 2 มารับสำนวนต่อจากชุดแรก มีการนัดให้บริษัทมาเจรจา ชดใช้ค่าเสียหายให้กับสหกรณ์ และกลุ่มผู้เสียหาย ในลักษณะต่ำกว่าค่าเสียหายที่แท้จริงเป็นอย่างมาก ซึ่งสหกรณ์บางส่วนก็รับเงินเยียวยาไป เนื่องจากสถานการณ์ลำบากแล้ว ทั้งนี้การจ่ายเงินเยียวยาของกลุ่มบริษัท จะบังคับว่าห้ามเปิดเผย ถ้าไม่งั้นก็ถูกฟ้องร้องเงินคืน และกลุ่มผู้เสียหายบางรายที่ยอมรับเงินเยียวยา เกิดจากที่พนักงานสอบสวน บังคับขู่เข็ญหว่านล้อมชี้นำ พูดแกมบังคับว่า ถ้าใครไม่รับเงินเยียวยาจะตกเป็นผู้ต้องหา ก็เลยมีการรับเงินเยียวยาบางส่วน ต้องมีประเด็นอื่น ๆ ว่า ต้องถอนฟ้องโรงงาน ไม่ติดใจเอาความ ให้การใหม่ว่าบริษัทไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำความผิด ต้นเหตุที่แท้จริงเกิดจากบริษัท และมีสมาชิกทั้งหมดทั่วภาคอีสาน ประมาณ 5,000 ราย ที่เดือดร้อนอย่างแสนสาหัส
นางสุนีรัตน์ สุคำวัน ผู้จัดการสหกรณ์ นิคมดอนตาลสอง จำกัด กล่าวว่า เงินทุกบาทที่มีเอาไปลงทุนไปซื้อยางมาขาย ในโควตาของนางนิตยาฯ จอนนี้สหกรณ์ขาดเงินทุนหมุนเวียน และสหกรณ์ได้กู้เงินมาก็โดนเจ้าหนี้ฟ้อง ตอนนี้คณะกรรมการถูกดำเนินคดี ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนบังคับคดี ยึดทรัพย์ขายทอดตลาด อยากให้ทางบริษัทออกมาจ่ายเงินค่าเสียหาย ที่สาเหตุเกิดจากบริษัทไม่เกี่ยวกับนางนิตยาฯ
นางสุนีรัตน์ สุคำวัน กล่าวต่ออีกว่า ขณะนี้คณะกรรมการสหกรณ์ ถูกฟ้องดำเนินคดี 11 คน ต้องรับผิดชอบภาระหนีสิน 20 กว่าล้านบาท เพื่อนำเงินดังกล่าวมาซื้อยางพารา ได้นำยางส่งบริษัทแต่บริษัทยังไม่จ่ายเงินให้ และเงินเยียวยาก็ยังไม่ได้ สหกรณ์อื่นเขาได้เงินเยียวยา แต่สหกรณ์ของเรายังไม่ได้เงินเยียวยา
อนุศักดิ์ – เสาวภา แสนวิเศษ ผู้สื่อข่าวจ.มุกดาหาร