เอาแล้วไง ปธ.”สหภาพการบินไทย” เผยเงินชดเชยหากถูกเลิกจ้าง ลั่นวันนี้ผมต้องพูดความจริง

ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย เผยเงินชดเชยพนักงานการบินไทย หากถูกเลิกจ้าง

ป็นข่าวใหญที่หลายฝ่ายเฝ้าจับตากับการเสนอให้“การบินไทย”เข้าสู่แผนการฟื้นฟู เมื่อวานนี้ (19 พฤษภาคม 2563) รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลระบุว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอเพื่อเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย โดยการยื่นขอฟื้นฟูกิจการจะดำเนินการทั้งศาลล้มละลายไทยและศาลล้มละลายสหรัฐฯรวมทั้งเห็นชอบให้กระทรวงการคลังลดสัดส่วนการถือหุ้นต่ำกว่า 50% ที่มีการนำเสนอไปเรียบร้อยแล้วนั้น

ล่าสุด นายนเรศ ผึ้งแย้ม ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย กล่าวว่า หลังจากที่“การบินไทย”เข้าสู่ขบวนการฟื้นฟูกิจการภายในศาลล้มละลายกลาง บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) จะหลุดพ้นจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ และหลุดพ้นจากพ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ 2543 ทำให้สิทธิคุ้มครองแรงงานตามกฎหมายดังกล่าวจะหมดไปด้วย

นายนเรศ กล่าวต่อว่า โดยอาจจะเข้าสู่สิทธิ์ตามพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ 2518 แทน ซึ่งขั้นตอนของการฟื้นฟูกิจการตัวแทนที่เข้ามาบริหารแผนจะเข้ามาปรับโครงสร้างองค์กรทุกหน่วยงานเพื่อให้กิจการของบริษัทกลับมาเดินต่อไปได้ ดังนั้น ในส่วนของบุคคลากรของบริษัทซึ่งปัจจุบันมีอยู่ราว 2.1 หมื่นคน ต้องยอมรับว่าบางส่วนอาจจะต้องถูกเลิกจ้างในระหว่างที่บริษัทกำลังจะเข้าแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งเป็นสิทธิ์ตามกฎหมายของนายจ้าง ที่จะบอกเลิกจ้าง ก่อนที่พนักงานจะอายุครบเกษียณ ส่วนโครงการร่วมใจจากองค์กรคงไม่มีแน่นอน ทั้งนี้ สหภาพฯขอชี้แจงว่า พนักงานทุกคนที่ถูกเลิกจ้างจะได้รับการชดเชยตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ หรือกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ โดยจะได้รับสิทธิคุ้มครองตามกฎหมายเหมือนกัน โดยจะมีหลักเกณฑ์ใหม่ในการจ่ายค่าชดเชยเลิกจ้าง แบ่งออกเป็น ดังนี้ 

1.ทำงานต่อเนื่องครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ได้ค่าชดเชย 30 วัน 

2.ทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ได้รับค่าชดเชย 90 วัน 

3.ทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี ได้ค่าชดเชย 180 วัน

 4.ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่เกิน 8 ปี ได้ค่าชดเชย 240 วัน 

5.ทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี ได้ค่าชดเชย 300 วัน และ

 6.ทำงานครบ 20 ปี จะได้รับค่าชดเชย 400 วัน สำหรับเงินชดเชยเลิกจ้าง จะจ่ายให้ในกรณีที่ลูกจ้างถูกเลิกจ้างโดยที่ไม่ได้มีความผิด หรือไม่ได้ลาออกเองโดยสมัครใจ

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

ข่าวยอดนิยม