คุณหญิงหน่อย เรียกร้องให้ทุกฝ่ายร่วมกันหาทางออกจาก “วิกฤติของประเทศ” อย่างสันติ
วันที่ 4 พ.ย.2563 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อดีตประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า ตลงพื้นที่จังหวัดนครราขสีมาเพื่อมาช่วยเหลือพี่น้องประสบภัยน้ำท่วมและมอบข้าวสารอาหารแห้ง เขตเขตอำเภอปักธงชัย กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า จากกรณีที่มีมีการสรรหา คณะกรรมการเพื่อร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่มาใช้แทนฉลับที่ใชปัจจุบันนี้ ซึ่งตนมองว่ารัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่ได้รับการสรรหา ควคจะต้องทำตามหลักการ 3 ข้อ คือ 1. เปิดประชุมสภาวิสามัญ เพื่อใช้เวลาพิจารณาญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งหมดให้แล้วเสร็จ 2. สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 256 และตั้ง สสร. ซึ่งทุกฝ่ายเห็นตรงกัน ทั้งฝ่ายค้าน และฝ่ายรัฐบาล ขาดเพียงเสียง ส.ว.อีก 84 เสียงเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อคืนอำนาจในการเขียนรัฐธรรมนูญ และอำนาจในการออกแบบอนาคต ทิศทางของประเทศให้กับประชาชน และเร่งรัดกระบวนการให้ได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ภายใน 1 ปี หรือภายในเดือนตุลาคม 2564 และ 3. สนับสนุนญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ส่วน 4 ญัตติของพรรคเพื่อไทย และพรรคร่วมฝ่ายค้าน เพื่อเป็นทางออกแก้วิกฤติการเมือง ตามที่นักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชน กำลังเรียกร้องอยู่ขณะนี้ คือ 1) ยุติอำนาจ ส.ว. ในการเลือกนายกรัฐมนตรี และแก้ ม.159 เพื่อเปิดทางให้นายกฯ มาจากบัญชีของพรรคแล้วยังสามารถเลือกจาก ส.ส. ที่มีอยู่ในสภาได้ด้วย 2) ยุติอำนาจ ส.ว. ในเรื่องการปฏิรูปประเทศ และการพิจารณาร่างกฎหมายร่วมกับ ส.ส. แทนที่จะเป็นไปตามขั้นตอนของแต่ละสภา 3) ให้ตรวจสอบคำสั่งและการกระทำของ คสช. ได้ 4) แก้ไขระบบเลือกตั้งเป็นบัตร 2 ใบ เลือกคนและเลือกพรรค เพื่อสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนในการเลือกตั้งอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ เมื่อรัฐสภาเห็นชอบ ทั้ง 4 ญัตติ หากต้องมีการเลือกตั้งใหม่ ก็จะเป็นการเลือกตั้งใหม่ภายใต้กติกาที่เคารพสิทธิประชาชน อำนาจ ส.ว. ในการโหวตนายกฯ จะถูกยกเลิกไป ที่สำคัญกลับมาใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ คือ เลือกคนและเลือกพรรค”ด้วยวิธีการนี้ การร่างรัฐธรรมนูญโดย ส.ส.ร. จะไม่มีหนทางให้สะดุดหยุดลง ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม กระบวนการจะยังคงเดินหน้าต่อไป จนได้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน”
กรณีนายชวน หลีกภัยประธานสภา จะเชิญอดีต 4 นายกรัฐมนตรีมาเป็นกรรมการสมานฉันท์ ตนนี้มีความคิดเห็นว่า ต้องหาทางออกให้กับประเทศ ว่าจะทำอย่างไรที่จะทำให้เกิดการรับฟังกัน และเกิดพื้นที่ที่จะพูดคุยกันด้วยเหตุผล แลกเปลี่ยนกัน ก็จะนำไปสู่การปฏิบัติได้ สมควรที่จะมีกรรมการชุดนี้ขึ้นมา อาจจะมีก็ไม่อยากให้มีแบบลอยๆ และก็ไม่รู้ว่าผลจะไปจบกันลงยังไง ใช้เวลาเท่าไร ควรที่จะเสนอเป็นกฎหมาย โดยจะให้กฎหมายรองรับเพื่อที่จะเอาผลของการหารื้อนั้น ไปให้หน่วยงานต่างๆปฏิบัติ และจะต้องกำหนดระยะเวลา ว่ากรรมการชุดนี้จะต้องทำงานให้เสร็จภายใน 3 เดือนไม่ควรจะเกิน 5 เดือน เพราะผลของกรรมการชุดนี้จะต้องนำไปให้ สสร ในอนาคต หากจะมีการแก้รัฐธรรมนูญ อีกอย่างจะต้องสร้างบรรยากาศความไว้วางใจซึ่งกันและกัน อย่างมีเหตุผล ซึ่งในต่างประเทศเขาทำกัน จะมีการพักในการดำเนินคดีของผู้ที่เห็นต่างทุกฝ่ายโดยพักไม่ก่อน เพื่อที่จะได้เกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกันก่อนที่จะมีการพูดคุย ด้วยเหตุด้วยผล โดยมีกฎหมายรองรับและระยะเวลาที่ชัดเจน การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องมีบุคคลใดเข้าไปร่วมเป็นคณะกรรมการนั้น ต้นมองว่าน่าจะเป็น สสร.ซึ่งมองว่าวันนี้ทางรัฐบาลยังซื้อเวลาเรื่องของรัฐธรรมนูญ ด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญควรจะให้จบภายในเดือนธันวาคม ถึงมองว่าไปปีหน้ากลัวจะได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ไปสู่การเลือกตั้งใหม่อีกครั้งหนึ่ง.
ภาพ-ข่าว ณัฐพงศ์ อรชรผู้สื่อข่าวประจำ จ.นครราชสีมา