จันทบุรี วิกฤตนำเข้าแรงงานกัมพูชา …หวั่นแรงงานเถื่อนทะลักแนว ชายแดน
หวั่นแรงงานเถื่อนทะลักเข้าช่องทางธรรมชาติชายแดนโป่งน้ำร้อน จันทบุรี ไร้ผ่านการตรวจ สอบ และควบคุมการแพร่ระบาดไวรัสโควิด- 19 จับตาล้งลำไยต่างชาติเสนอความต้องการแรงงานถูกกฎหมายจำนวนน้อย อาจแฝงรับแรงงานเถื่อน หัวละ 1,200-3,000 บาท ทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครองต้องเพิ่มความเข้ม กวาดล้างแรงงานเถื่อนนอกระบบ
ณ ปัจจุบันนี้ ยังถือว่าได้กระบวนการนำเข้าแรงงานจากประเทศกัมพูชา ไม่สามารถหาเหตุผล และข้อสรุปยังไม่ได้ชัดเจนนัก ว่าทางรัฐบาลกัมพูชาจะติดสินใจอย่างไร ในกรณีที่รัฐบาลไทยร้องขอนำเข้าแรงงานจำนวนมาก เพื่อแก้ไขวิกฤตการขาดแคลนแรงงานให้ชาวเกษตรกรปลูกลำไย ล้งลำไย ในเขตอำเภอสอยดาว และอำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี เนื่องจากขณะนี้ใกล้ถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งคณะทำงานทุกภาคส่วน ได้ร่วมกันผลักดันเพื่อสามารถนำแรงงานเข้า ตามระเบียบ หลักปฏิบัติ ตามกรอบกำหนดไว้เสร็จสิ้นแล้ว อีกทั้งยังมีความพร้อมทางสายการแพทย์อย่างมีมาตรฐาน สามารถเป็น”โมเดล”นำร่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในทุก ๆ ปีที่ผ่านมา ปัญหาเรื่องแรงงานชาวกัมพูชา ไม่เคยมีปัญหา เนื่องจากมีวิธีการมากมายที่แรงงานสามารถเข้ามาขายแรงงานได้โดยมีผู้ประกอบการดำเนินการให้โดยถูกกฎหมายแรงงาน ซึ่งนับแต่เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือไวรัสโควิด 19 แพร่ระบาด รัฐบาลทุกประเทศประกาศปิดพรมแดน งดการเข้า –ออก เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด โดยเฉพาะประเทศไทย กับประเทศกัมพูชาที่มีแนวเขตผืนแผ่นดินติดต่อกัน ซึ่งมีช่องทางธรรมชาติมากมายที่สามารถเดินข้ามแดนสู่กันได้อย่างง่ายดาย โดยมีทหาร ตำรวจ คอยเฝ้าสังเกตการณ์ และจับกุมได้จำนวนมาก แต่ก็มิอาจจะดูแลได้ทั่วถึงพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด ที่ผ่านมามีเล็ดลอดมาจำนวนมาก จึงยากต่อการควบคุม ดูแล ให้อยู่ในระบบกักกัน 14 วัน
ขณะเดียวกันในช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตลำไยนอกฤดูกาล เกษตรกร ผู้ประกอบการได้รับความเดือดร้อนเรื่องแรงงาน หน่วยราชการ ภาครัฐ เอกชน ได้รวมพลังกันเสนอปัญหานี้ จนสามารถทำให้รัฐบาลไทย ประชาชนทั่วไปให้ความไว้วางใจ เชื่อมั่นใน”โมเดล”การนำเข้าแรงงานอย่างปลอดภัย ถูกกฎหมาย ไม่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด แต่ก็ยังติดขัด หรือมีอุปสรรคกับรัฐบาลกัมพูชา ในยังไม่ได้ปลดล็อคคำสั่งเดิมในเรื่องการเข้า –ออกประเทศ โดยเฉพาะเรื่องการนำแรงงานออกภายนอกประเทศที่มีจำนวนมาก ซึ่งยากต่อการควบคุมเรื่องการติดเชื้อ ส่งผลให้ผู้นำทุกฝ่ายของจังหวัดจันทบุรี ต้องรีบเร่งเสนอให้รัฐบาลไทย แก้ไขปัญหาเพื่อให้ได้มาซึ่งการนำเข้าแรงงาน เป็นกรณีเร่งด่วน
ผู้สื่อข่าวเฉพาะกิจ รายงานความคืบหน้าในเรื่องนี้ว่า ในข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้ก็คือปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างด้าวในการเก็บลำไย การคัด การบรรจุลำไยเพื่อการส่งออกต่างประเทศตามล้งต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นต้องใช้แรงงานจำนวนมากจริง แต่ในทางตรงกันข้าม สถิติการเสนอความต้องการแรงงานของแต่ละล้ง มีความแตกต่างกัน นั่นคงหมายถึงล้งที่เสนอความต้องการน้อยเพราะมีแรงงานต่างด้าวอยู่ในล้งเรียบร้อยแล้ว ส่วนที่เสนอความต้องการแรงงานมากอาจคงยังไม่มีแรงงานถูกกฎหมายอยู่ในล้งแม้แต่คนเดียว นี่คือความแตกต่างที่ต้องจับตามมองว่าการบริหารจัดการ แรงงานนำเข้าถูกกฎหมาย และแรงงานที่หนีเข้ามาทางช่องทางธรรมชาติ มาขายแรงงานในล้งต่าง ๆ จะต้องจัดการอย่างไร
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ขณะนี้ได้มีแรงงานเถื่อนข้ามแดนช่องทางธรรมชาติมาขายแรงงานเก็บลำไยจำนวนมาก โดยไม่ผ่านระบบตรวจคนเข้าเมือง การตรวจเชื้อ การคัดกรอง การกักตัว 14 วัน ของระบบสาธารณสุข ด้วยการเสียค่าใช้จ่ายนอกระบบนำพาไปส่งตามล้งต่าง ๆ ในราคาหัวละ 1,200 -3,000 บาท ซึ่งมีราคาถูกกว่าการเข้ามาตามระบบที่ทางราชการกำหนดให้ ปัญหานี้อันตรายที่สุด ถ้าแรงงานหลุดลอดนำเชื้อไวรัสเข้ามาแพร่ระบาดในพื้นที่ จะส่งผลเสื่อมเสียชื่อเสียงของคณะทำงานทุกภาคส่วนจังหวัดจันทบุรี และประเทศไทยจะขาดความเชื่อถือ ขาดความเชื่อมั่นในนานาประเทศอย่างแน่นอน ซึ่งไม่คุ้มค่า คุ้มเวลาที่ช่วยกันผลักดัน การแก้ไขปัญหามาด้วยความเหนื่อยและยากเย็น
เรื่องนี้จึงต้องขอฝากเจ้าหน้าที่บ้านเมืองทุกฝ่าย โดยเฉพาะทหารพรานนาวิกโยธิน ชุดควบคุมทหารพรานที่ 2โดยมี เรือเอก ศุภชัย ภักดิ์ขัน ผบ.ร้อย ชค.2 ที่มีกำลังพลในการตรวจ จับกุมการกระทำความผิดแนวชายแดน ต.เทพนิมิต อ.โป่งน้ำร้อน โดยเฉพาะเรื่องของความมั่นคงชายแดน ควรเพิ่มความเข้มงวด กวดขันให้มากที่สุด ถ้าเกิดความผิดพลาดใด ๆ ก็ตามนั่นหมายถึงความเสียหายระดับประเทศ หรือถ้ามีเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ปราบปราม จับกุมแรงงานเถื่อนที่เข้าไปทำงานในล้งต่างๆ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสมรณะ เมื่อสอบสวนแล้วได้ให้การซัดทอดว่าได้หนีเข้ามาทางแนวเขตธรรมชาติ แต่มีเจ้าหน้าของรัฐนำมาส่งให้ผู้ประกอบการ ทุกฝ่ายต้องมีคำตอบอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ การแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้จะต้องเกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และอย่าปล่อยให้มีแรงงานเถื่อน
“มังกร บูรพา “ รายงาน