กรมวิชาการเกษตรแจ้งเตือนภัย เกษตรกรผู้ปลูกออ้อย เฝ้าระวัง “หนอนกออ้อย” ระบบาดในช่วงนี้
ในช่วงระหว่างวันที่ 12-16 มิ.ย.2563 ลักษณะอากาศมีเมฆมาก มีฝนฟ้าคะนอง และฝนตกหนักในบางพื้นที่ ส่วนพื้นที่ ที่อากาศแห้งแล้ง และมีฝนตกในบางพื้นที่ อ้อยในระยะแตกกอ(1 –4 เดือน) ระวังหนอนกออ้อย
หนอนกออ้อย ที่สำคัญที่พบเข้าทำลายอ้อย มี 3 ชนิด หนอนกอลายจุดเล็ก หนอนเจาะเข้าไปตรงส่วนโคน ระดับผิวดิน เข้าไปกัดกินส่วนที่กำลังเจริญเติบโตภายใน หน่ออ้อย ทำให้ยอดแห้งตาย การเข้าทำลายของหนอน กอลายจุดเล็กจะทำให้ผลผลิตอ้อยลดลง 6 – 40 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้หนอนยังเข้าทำลายอ้อยในระยะ อ้อยย่างปล้อง โดยหนอนเจาะเข้าไปกัดกินอยู่ภายในลำ ต้นอ้อย ซึ่งทำให้อ้อยแตกแขนงใหม่ และแตกยอดพุ่ม หนอนกอสีขาว หนอนเจาะไชจากส่วนยอดเข้าไป กัดกิน ยอดที่กำลังเจริญเติบโต ทำให้ยอดแห้งตายโดยเฉพาะใบ ที่ยังม้วนอยู่ ส่วนใบยอดอื่นๆ ที่หนอนเข้าทำลายจะมี ลักษณะหงิกงอ และมีรูพรุน เมื่ออ้อยมีลำแล้วหนอนจะ เข้าทำลายส่วนที่กำลังเจริญเติบโต ทำให้ไม่สามารถสร้าง ปล้องให้สูงขึ้นไปได้อีก ตาอ้อยที่อยู่ต่ำกว่าส่วนที่ถูกทำลาย จะแตกหน่อขึ้นมาทางด้านข้าง เกิดอาการแตกยอดพุ่ม หนอนกอสีชมพูหนอนเจาะเข้าไปกัดกินตรงส่วนโคน ของหน่ออ้อยระดับผิวดิน เข้าไปกัดกินส่วนที่กำลัง เจริญเติบโตภายในหน่ออ้อย ทำให้ยอดแห้งตาย ถึงแม้ว่าหน่ออ้อยที่ถูกทำลายจะสามารถแตกหน่อใหม่ เพื่อชดเชยหน่ออ้อยที่เสียไป แต่หน่ออ้อยที่แตกใหม่จะมี อายุสั้นลง ทำให้ผลผลิตและคุณภาพของอ้อยลดลง
แนวทางการป้องกัน
1. ในแหล่งชลประทาน ควรให้น้ำ เพื่อให้อ้อยแตกหน่อชดเชย
2. ปล่อยแตนเบียนไข่ไตรโครแกรมมา อัตรา 30000 ตัวต่อไร่ต่อครั้ง ปล่อย ติดต่อกัน 2 – 3 ครั้ง ใช้ช่วงที่พบกลุ่ม ไข่ของหนอนกออ้อย
3. เมื่ออ้อยอายุ 1 เดือน หรือเมื่ออ้อย แสดงอาการยอดเหี่ยว 10 เปอร์เซ็นต์ ควรพ่นสารฆ่าแมลง เดลทาเมทริน 3% อีซีอัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 2-3 ครั้ง ห่างกัน 14 วัน
4. เมื่อพบการระบาดของหนอนกอ อ้อยและทำให้อ้อยแสดงอาการยอด เหี่ยวมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ควรพ่นสาร ฆ่าแมลงอินดอกซาคาร์บ 15% อีซี อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ลูเฟนนูรอน 5% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นโดย ใช้น้ำ 60 ลิตรต่อไร่
ที่มา..กรมวิชาการเกษตร http://at.doa.go.th/ew/