ทนาย “เกิดผล แก้วเกิด” ชี้ โพสต์รูปเหล้าเบียร์ ไม่ได้ผิดเสมอไป

ทนาย “เกิดผล แก้วเกิด” ชี้ โพสต์รูปเหล้าเบียร์ ไม่ได้ผิดเสมอไป

โพสต์รูปเหล้าเบียร์ ไม่ได้ผิดเสมอไป ทนาย “เกิดผล แก้วเกิด” ยก มาตรา 32 ของ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 เผย กฎหมายได้ห้ามกระทำ 2 อย่าง ชี้ โพสต์รูปเหล้า เบียร์ ไม่ได้ผิด ก.ม. เสมอไป ขึ้นอยู่กับว่ามีเจตนาในการโพสต์อย่างไร โดยอ้างอิงคำพิพากษาฎีกา ที่ 15453/2557

มาตรา 32 ของ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 กฎหมายได้ห้ามกระทำ 2 อย่าง คือ 1. ห้ามโฆษณา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2. ห้ามแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในลักษณะอวดอ้างสรรพคุณหรือจูงใจให้คนอื่นดื่ม

สำหรับกรณี ข้อ 2. ศาลฎีกา เคยวินิจฉัยว่า “…โจทก์ต้อง บรรยายฟ้อง และ นำสืบ ให้ได้ว่า ภาพ หรือ เครื่องหมาย ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่จำเลยแสดงนั้น อวดอ้างสรรพคุณอย่างไร ชักจูงใจอย่างไร ทำให้คนที่เห็นนั้นอยากดื่มโดยตรง
หรือโดยอ้อมอย่างไร…” (ตามนัยคำพิพากษาฎีกา ที่ 15453/2557) ดังนั้น ลำพังแต่เพียงการแสดง ชื่อ หรือ เครื่องหมาย นั้นยังไม่พอให้ฟังว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตรา 32

ทั้งนี้ ทนาย “เกิดผล แก้วเกิด” ยังได้ยกตัวอย่างเทียบกับรูปนี้ เห็นได้ว่า แม้จะโพสต์โดยมีรูปสินค้าหรือเครื่องหมายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยี่ห้อหนึ่ง แต่ก็ขาดเจตนาในการโฆษณา หรือเชิญชวน เพราะเป็นภาพข่าวที่คนแย่งกันซื้อเหล้าเบียร์ ในตอนที่รัฐบาลปลดล็อก โควิด-19 เท่านั้นเอง ทุกอย่างขึ้นอยู่กับเจตนา โพสต์รูปเหล้าเบียร์ ไม่ได้ผิดเสมอไป

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

ข่าวยอดนิยม